การควบคุมการก่อสร้าง (อาคาร)
กับมูลค่าที่ดินเปล่า
อ.วสันต์ คงจันทร์
กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
การควบคุมการก่อสร้างที่มีผลต่อมูลค่าที่ดิน โดยมีกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ที่มีผลต่อมูลค่าที่ดินเปล่า
ที่ตั้งอยู่ทำเลที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง เช่นในเขตเมืองนั้น
การควบคุมการก่อสร้าง หรือ ข้อจำกัดในการก่อสร้างอาคารจะเป็นตัวกำหนดราคาที่ดินที่สำคัญมาก
โดยทั่วไปแล้วอาจคิดกันว่าการประเมินค่าที่ดินแค่ใช้การเปรียบเทียบกับราคาตลาดทั่วไปแต่เพียงอย่างเดียว
แต่จริง ๆ แล้ว ในการประเมินค่าที่ดินแปลงหนึ่งในเขตเมือง
โดยเฉพาะในบริเวณที่มีศักยภาพสูง ๆ จะมีความยาก
ซับซ้อน ในการประเมินสูง เพราะผู้ประเมินจะต้องพิจารณาถึงศักยภาพที่ดินว่า
ที่ดินแปลงนั้นจะสามารถพัฒนาเป็นอะไรได้ ซึ่งการพิจารณาศักยภาพที่ดินต้องพิจารณาปัจจัยหลัก
ๆ 3 ประการ คือ
1. ความเป็นไปได้ทางด้านกายภาพ
2. ความเป็นไปได้ทางด้านกฎหมาย
3. ความเป็นไปได้ทางด้านการตลาดและการเงิน
โดยในการพิจารณาความเป็นไปได้ในทางกฏหมายนั้นจะต้องศึกษาว่าจะสามารถก่อสร้างอาคารได้มากน้อยเพียงใด
ซึ่งต้องพิจารณาถึง กฎหมายการควบคุมการก่อสร้าง
ว่ามีข้อกำหนด หรือข้อห้ามอะไรบ้างในการก่อสร้างบนที่ดินแปลงหนึ่ง
ๆ สรุปว่าถ้ามีที่ดิน 1 แปลง จะก่อสร้างอาคารได้พื้นที่มากที่สุดแค่ไหนตามกฎหมายนั่นเอง
ประเด็นข้อกฎหมายทางด้านควบคุมการก่อสร้างที่ควรทราบในการพิจารณามูลค่าที่ดินแปลงหนึ่งจะพิจารณาตาม
พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เป็นหลัก และมีกฎหมายลูกที่เป็นกฎกระทรวง
ข้อบัญญัติ ประกาศต่าง ๆ ในท้องที่ที่ดินทั้งอยู่
และศักยภาพการพัฒนาที่ดิน ย่านใจกลางเมืองหรือเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร
ส่วนใหญ่แล้วมักจะต้องเป็นอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษ
ดังนั้น การมีที่ดินแปลงหนึ่ง แล้วจะสามารถก่อสร้างอาคารดังกล่าวได้หรือไม่
จะเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาในการประเมิน
ความหมายของอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ และอาคารขนาดใหญ่พิเศษ
ดังนี้
• |
อาคารสูง คือ อาคารที่มีความสูงตั้งแต่
23 เมตรขึ้นไป |
• |
อาคารขนาดใหญ่ คือ
อาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้น หรือชั้นใดชั้นหนึ่งตั้งแต่
2,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรืออาคารที่มีความสูงเกิน
15 เมตร และมีพื้นที่รวมกันทุกหรือชั้นใดชั้นหนึ่ง
เกิน 1,000 ตารางเมตร |
• |
อาคารขนาดใหญ่พิเศษ คือ
อาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้น หรือชั้นใดชั้นหนึ่งในหลังเดียวกัน
ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือถ้าเป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่มีเนื้อที่เกิน
30,000 ตารางเมตร ก็จะมีข้อกฏหมายควบคุมอีกระดับ |
โดยในการพิจารณามูลค่าที่ดินทั้งในการใช้ทั่วไป
หรือการประเมิน มีกฎหมายอาคารที่ต้องพิจารณาเบื้องต้น
เช่นว่า
• |
FAR (Floor Area Ratio) สัดส่วนการก่อสร้างอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่
ต่อพื้นที่ดิน ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดไว้เป็น
10 : 1 หมายถึงถ้ามีที่ดิน 1 ไร่ สามารถก่อสร้างอาคารได้เต็มที่ไม่เกิน
10 เท่าของ 1 ไร่ คิดเป็น 16,000 ตารางเมตร
(1 ไร่ = 400 ตารางวา, 1 ตารางวา = 4 ตารางเมตร
ดังนั้น 1 ไร่ = 1,600 ตารางเมตร 10 เท่าของ
1,600 ตารางเมตร = 16,000 ตารางเมตร) |
• |
ที่ดินที่จะสามารถก่อสร้างอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ
ต้องมีหน้ากว้างด้านใดด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า12
เมตรติดกับทางสาธารณะ และถนนสาธารณะต้องมีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า
10 เมตรยาวตลอดแนวไปจนถึงถนนสาธารณะอื่น
(อีกสาย) ซึ่งต้องกว้างไม่น้อยกว่า 10
เมตร เข่นกัน หรือถ้าเป็นขนาดใหญ่พิเศษที่เกิน
30,000 ตารางเมตร ต้องมีขนาดความกว้างของซอยไม่น้อยกว่า
18 เมตรยาวตลอดแนวไปจนถึงถนนสาธารณะอื่น
(อีกสาย) ซึ่งต้องกว้างไม่น้อยกว่า 18
เมตรเช่นกัน |
• |
อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องจัดให้มีถนนที่มีผิวจราจรไม่น้อยกว่า
6 เมตร ปราศจากสิ่งปกคลุม รอบอาคาร |
• |
ความสูงอาคารที่สามารถก่อสร้างได้ ต้องขึ้นอยู่ความกว้างของถนนหรือซอยที่ผ่านหน้าที่ดิน
โดยความสูงอาคารจะสามารถก่อสร้างได้ไม่เกิน
2 เท่าของระยะจากตัวอาคารถึงถนนฝั่งตรงข้าม |
• |
ระยะถอยร่น ที่ดินติดถนนสายหลักต่าง
ๆ มักจะกำหนดไว้ว่าในระยะ 15 เมตร จากเขตทาง
ห้ามก่อสร้างอาคารทุกประเภท |
• |
ข้อจำกัดริมทะเล, ริมคลองฯ, ข้อจำกัดรอบสถานที่สำคัญ
ๆ เช่น พระราชวัง รอบสนามบิน เขตทหาร เขตการควบคุมสิ่งแวดล้อม
เป็นต้น |
ข้างต้นเป็นเพียงข้อกำหนดส่วนหนึ่งเบื้องต้น
ยังไม่ได้พิจารณาถึงรายละเอียดอื่น ๆ ภายในอาคารที่ต้องออกแบบถูกต้องตามข้อกำหนดเท่านั้น
ซึ่งยังมีกฏต่างๆ
ที่เกียวข้องอีกมาก
ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นความสำคัญ เช่น การประเมินค่าที่ดินในซอยแถว
ๆ ถนนสุขุมวิท ช่วงต้น ๆ ถ้ามีที่ดินขนาด 1.5
ไร่ เท่ากันตั้งอยู่คนละซอย ซอยหนึ่งกว้าง
10 เมตร (สาธารณประโยชน์) ซอยหนึ่งกว้าง 8
เมตร ราคาที่ดินจากแตกต่างกันมาก เนื่องจากซอยกว้าง
10 เมตร จะสามารถก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ
(เกิน 10,000 เมตร) ได้ ซึ่งถ้าพิจารณา FAR
1: 10 แล้วที่ดิน 1.5 ไร่ ควรจะก่อสร้างได้เต็มพื้นที่ถึง
24,000 ตารางเมตร ในขณะที่ที่ดินในซอยกว้างเพียง
8 เมตร สามารถก่อสร้างได้เพียง 9,999 ตารางเมตรเท่านั้น
เพราะก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ไม่ได้ ดังนั้นถ้าทำการประเมินด้วยวิธีการเปรียบเทียบราคาตลาดอย่างเดียวอาจทำให้ราคาผิดเพี้ยนได้
ผมจะแสดงตัวอย่างความแตกต่างของมูลค่าที่ดิน
2 แปลงข้างต้น ดังนี้
ตารางการประเมินค่าที่ดิน
(เปล่า) ที่มีความกว้างถนน ต่างกัน |
|
|
แปลงที่ 1 |
|
แปลงที่ 2 |
|
|
1 |
ถนน
(ซอย) ผ่านหน้าที่ดินกว้าง : เมตร |
|
10.00 |
|
8.00 |
|
เพื่อเทียบความต่างของความกว้างซอย
(สร้างอาคารได้ไม่เท่ากัน) |
2 |
ศักยภาพการพัฒนา |
|
คอนโดมิเนียม |
|
คอนโดมิเนียม |
|
สมมติฐานพัฒนาเหมือนกัน |
3 |
เนื้อที่ดิน
(ไร่) |
|
1.5 |
|
1.5 |
|
|
|
|
คิดเป็นตารางวา |
|
600 |
|
600 |
|
1 ไร่ = 400 ตารางวา |
4 |
ก่อสร้างได้สูงสุด
(ตารางเมตร) |
|
24,000 |
|
24,000 |
|
ตาม FAR 10:1 |
5 |
แต่สามารถก่อสร้างได้เพียง (ตารางเมตร) |
|
24,000 |
|
9,999 |
|
เนื่องจากความกว้างถนนผ่านหน้าที่ดิน |
|
|
จำนวนชั้นประมาณ
(ชั้น) |
|
14 |
|
6 |
|
|
6 |
ประมาณพื้นที่ขาย/เช่า
(ตารางเมตร) |
|
13,200 |
|
5,499 |
|
ประมาณ 55%
ต้องมีพื้นที่ส่วนกลาง+ที่จอดรถ |
7 |
ถ้าขายได้
ตรม.ละ (บาท) |
|
40,000 |
|
40,000 |
|
เปรียบเทียบราคาซื้อขายในย่านนี้ |
8 |
มูลค่าขายรวม
= มูลค่าโครงการ (บาท) |
|
528,000,000 |
|
219,978,000 |
|
|
9 |
หักค่าระยะเวลาในการขาย |
|
471,428,571 |
|
196,408,929 |
|
Present Value
จากการขาย 2 ปี (เฉลี่ย 1 ปี, Discount Rate
12%) |
10 |
หักค่าดำเนินการ,
ภาษี, กำไร |
|
20% |
|
20% |
|
|
|
|
คงเหลือ |
|
377,142,857 |
|
157,127,143 |
|
|
11 |
หักต้นทุนค่าก่อสร้าง |
|
|
|
|
|
|
|
|
ตารางเมตรละ
(บาท) |
|
12,400 |
|
10,800 |
|
อ้างอิง ค่าก่อสร้างมาตรฐาน
สมาคมผู้ประเมินฯ ปี 44 |
|
|
ค่าก่อสร้างเป็นเงิน
(บาท) |
|
297,600,000 |
|
107,989,200 |
|
|
12 |
คงเหลือค่าที่ดินที่เหมาะสม
(บาท) |
|
79,542,857 |
|
49,137,943 |
|
|
|
|
ต่อตารางวา
(บาท) |
|
132,571 |
|
81,897 |
|
|
|
|
ต่างกัน
(เท่า) |
|
1.62 |
|
ต่างกัน 62
% เชียวนะครับ แค่ซอยกว้างต่างกัน แค่ 2
เมตร |
|
ตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงการพิจารณาเพียงประเด็นข้อกฏหมายเรื่องเดียว
ในทางปฎิบัติต้องพิจารณาข้อกฏหมายที่มีผลต่อที่ดินแต่ละแปลงให้ครบถ้วน
จะเห็นว่าการประเมินค่าที่ดินเปล่าในเขตเมืองที่มีศักยภาพสูงนั้น
จะสลับซับซ้อนและยากกว่าที่ทั่วไปคิดกัน ให้ประเมินที่ดินที่มีอาคารขนาดใหญ่พิเศษหรืออาคารสูงอยู่แล้ว
ยังจะง่ายกว่า เพราะนักประเมินไม่ต้องทำตัวเป็นสถาปนิก
มานั่งพิจารณาว่าก่อสร้างได้ขนาดไหน เนื่องจากอาคารที่มีอยู่
เขาก็อนุญาตก่อสร้างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
มูลค่าข้างต้นเป็นมูลค่าเฉพาะที่ดินเปล่า
เพราะที่ดินที่มีอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษอยู่แล้ว
อาจก่อสร้างก่อนกฏหมายบังคับ และได้รับอนุญาติถูกต้อง
จึงสามารถใช้ประโยชน์ได้ ดังน้นราคาที่ดินอาจสูงกว่าที่ดินเปล่าได้
ถ้าอาคารที่ก่อสร้างอยู่แล้ว มีเนื้อที่มากกว่าอาคารที่จะก่อสร้างขึ้นใหม่
ดังนั้นในที่ดินบางแปลงอาจมีมูลค่าสูงกว่าอีกแปลงหนึ่งมากในซอยเดียวกัน
ถ้าแปลงนั้นขายพร้อมใบอนุญาติก่อสร้างที่สามารถก่อสร้างได้มากกว่า
การขออนุญาติใหม่
ข้อกฎหมายในการควบคุมอาคารในบ้านเรา
ปัจจุบันมีกฎหมายแม่ คือ พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
และมีกฏหมายลูก เป็นพวกกฏกระทรวงต่าง ๆ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
และหน่วยงานท้องถิ่นอื่น ๆ อีกมาก โดยกฏหมายและกฏระเบียบเหล่านี้สามารถตรวจสอบได้กับหน่วยราชการที่อนุญาตก่อสร้างแต่ละท้องที่
รวมทั้งสามารถซื้อหาหนังสือมาเก็บไว้ ปัจจุบันที่มีการรวบรวบโดย
สมาคมสถาปนิกสยาม ชื่อ กฎหมายอาคาร (UPDATE
ถึงปี 42) |