การประเมินค่าสนามกอล์ฟ: บทเรียนจากสหรัฐอเมริกา
(VAT NEWS 2/1999)
ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
สนามกอล์ฟที่แล้วเสร็จและขายสมาชิกไปแล้ว
มูลค่าปัจจุบันที่เหลืออยู่ไม่เต็มมูลค่าเดิม
ประเด็นปัญหาในการประเมิน การประเมินสนามกอล์ฟมีความซับซ้อน
ซึ่งหากเลือกวิธีประเมินผิด จะได้มูลค่าที่ผิดพลาดไปอย่างมาก 1. สนามกอล์ฟส่วนมากขายค่าสมาชิกไป
(เกือบ) หมดแล้ว สิทธิการใช้สนามกอล์ฟนี้ดำรงอยู่ การจะประเมินเสมือนที่ดินเปล่าทั่วไป+ต้นทุนการพัฒนาจึงไม่อาจทำได้ 2. ค่าใช้สนามกอล์ฟ ไม่อาจนำมาประเมินด้วยวิธีแปลงรายได้เป็นมูลค่าเพราะมีค่าสมาชิกที่จ่ายล่วงหน้า
หาไม่แล้วค่าใช้สนามคงสูงกว่านี้มาก ค่าสมาชิกที่ขายกันภายหลังอาจไม่มีมูลค่าเต็มเพราะมีระยะเวลาที่แน่นอนที่ใช้ไปแล้ว 3. รายได้จากกิจการคลับเฮาส์และสนามกอล์ฟส่วนใหญ่เพียงแค่ให้คุ้มค่าใช้จ่าย
มีรายได้สุทธิเล็กน้อย ถ้าพิจารณาจากวิธีรายได้ง่าย ๆ อาจประเมินต่ำกว่าความเป็นจริงได้ 4. การเปรียบเทียบตลาดกับสนามกอล์ฟอื่นยิ่งทำได้ยากกว่า
เพราะสถานภาพ สถานการณ์การขายสมาชิกอาจแตกต่างกันมาก 5. วิธีการตั้งสมมติฐานการแปลงรายได้เป็นมูลค่าก็อาจยิ่งอันตรายก็ได้
เพราะสนามกอล์ฟชั้นดี จะนำไปเทียบกับสนามที่ให้เช่าเล่นกอล์ฟครั้งคราวคงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงแน่นอน ผู้ซื้อ-ผู้ขาย สถาบันการเงิน
ผู้ประกอบการจึงอาจวิเคราะห์ด้วยทรรศนะที่แตกต่างกันมาก และจึงมีความซับซ้อนอย่างมากในการประเมินค่าสนามกอล์ฟ
วิธีการประเมิน
วิธีการสำคัญก็คือในการได้มาซึ่งมูลค่าของอสังหา-ริมทรัพย์ที่เป็นสนามกอล์ฟก็คือ
การนำมูลค่าที่ได้จากการขาย บวกด้วย (ผลต่างระหว่างรายได้-รายจ่ายดำเนินการ) ที่
capitalized แล้ว ลบด้วย มูลค่าของสังหาริมทรัพย์ที่มี
ก. มูลค่าจากการขาย |
|
1. มูลค่าเบื้องต้น = ค่าสมาชิกเฉลี่ย
x จำนวนสมาชิก x present value x (1 - cost
of sale, 15%)
ค่าสมาชิก คนละ $35,000 บาท
จำนวนสมาชิก 350 คน
present value (ขาย 2 ปี เฉลี่ยเป็น 1 ปี, ดบ. 10%)
ต้นทุนการขาย = 15% ของรายได้
= $30,000 x 350 x (1/1.1) x (1-0.15)
= $8,113,636
2. รายได้จากมูลค่าเบื้องต้น = มูลค่าเบื้องต้น คูณด้วย safe rate (ตามความเหมาะสมในท้องถิ่น)
= $8,113,636 x 8%
= $649,091
3. มูลค่าที่พึงประเมิน = รายได้จากมูลค่าเบื้องต้น / capitalization
rate ที่รวมค่าภาษี
= $649,091 /10%
= $6,490,909 |
|
ข. มูลค่าที่ได้จากการดำเนินการ |
|
ได้แก่ค่า
green fee, golf carts, สระว่ายน้ำ, สนามเทนนิส,
pro shop, อาหาร-เครื่องดื่ม, locker room, ร้านค้าปลีก,
และอื่น ๆ ลบด้วย ส่วนลดและเครดิต 5% |
|
= $5,363,500 (effective gross
income, EGI)
2. ค่าใช้จ่ายการดำเนินการ |
|
ตามสัดส่วนของ
EGI ในแต่ละรายการ อันได้แก่ต้นทุนการขาย เงินเดือน-ค่าจ้าง
ค่าจัดการบำรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ประกันภัย |
|
= $4,773,500
3. รายได้สุทธิ
= (รายได้ - รายจ่าย / อัตราผลตอบแทน)
รายได้ = รายได้ตามข้อ 1
รายจ่าย = รายจ่ายตามข้อ 1
อัตราผลตอบแทน = 12% |
|
(8% safe rate + 2% ภาษี + 2% ค่าเสี่ยง) |
|
= ($5,363,500 - $4,773,500)
/ 12%
= $4,916,667 |
|
ค. สังหาริมทรัพย์ |
|
หมายถึง personal property
ต่าง ๆ ที่ในกรณีนี้เป็นเงิน $875,000 |
|
ง. มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสนามกอล์ฟ |
|
= ข้อ ก + ข้อ ข - ข้อ ค
= $6,490,909 + $4,916,667 - $875,000
= $10,532,576 |
|
ข้อพิจารณา 1. รายได้จากการดำเนินการ เป็นรายได้ที่ได้จริงซึ่งต้องพิจารณาประกอบกับการเปรียบเทียบตลาดด้วยว่าสูงต่ำกว่าตลาดเพียงใด
และเหตุใดเราจึง justify รายได้ที่กำหนดนี้ 2. รายจ่ายจากการดำเนินการ ต้องพิจารณาในแง่
competitive management หาไม่อาจมีรายจ่ายอื่นที่เกินจากความเป็นจริง ทำให้มูลค่าบิดเบือนไปได้ 3. และถึงแม้รายได้สุทธิจากการดำเนินการจะต้องพิจารณาถึง
competitive management แต่รายได้สุทธินี้ก็ค่อนข้างต่ำโดยธรรมชาติของการดำเนินการในกรณีสนามกอล์ฟนี้ 4. การประเมินในลักษณะนี้อาจใช้ได้กับทรัพย์สินอื่น
ได้แก่ กรณี โครงการ time-share / time-sharing resort properties, หรือโครงการอื่นที่มีการจ่ายเงินค่าสมาชิกล่วงหน้า กรณีประเทศไทย การประเมินสนามกอล์ฟในประเทศไทย
บางครั้งผู้ประกอบการ หรือสถาบันการเงินอาจคิดว่าที่ดินสนามกอล์ฟนี้เป็นของตนโดยสมบูรณ์
อาจนำไปใช้ประโยชน์ทางอื่นได้ จึงคาดว่าจะมีมูลค่าสูง แต่ในความเป็นจริง สนามกอล์ฟที่ขายสมาชิกไปเป็นส่วนมากแล้ว
(บางแห่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน บางแห่งเป็นแบบตลอดชีพ) มูลค่าที่แท้จริงจึงต่ำกว่าค่าที่ดินและการพัฒนา สิทธิการใช้สนามกอล์ฟของสมาชิกนี้อาจไม่ใช่สิทธิในการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์โดยตรง
แต่ก็อาจถือเป็นหนึ่งใน bundle of right ที่ไม่อาจแยกออกได้ และคงไม่อาจยกเลิกสิทธินี้ได้
เว้นแต่จะเจรจาซื้อคืนสถานภาพสมาชิกจากผู้ซื้อสิทธิรายย่อยทั้งหมด ประเด็นปัญหาประการหนึ่งของสนามกอล์ฟในไทยก็คือ
บางแห่งปิดการดำเนินการไปแล้ว หรือดำเนินการเพียงบางส่วน ซึ่งสมาชิกไม่อาจใช้หรือใช้สิทธิต่าง
ๆ ได้ไม่เต็มที่ สนามกอล์ฟบางแห่งไม่เหลือสภาพสนามกอล์ฟแล้ว ทำให้การประเมินยิ่งเพิ่มความยากลำบาก นอกจากนี้ยังอาจพบว่า ค่าสมาชิกสนามกอล์ฟลดต่ำลงอย่างมาก
โดยราคาเสนอซื้อลดลงถึง 50% ในปัจจุบันจากราคาปี 2537 และอีกประการหนึ่งสนามกอล์ฟบางแห่งโดยเฉพาะที่ประเมินไม่มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้
มีโอกาสจะปิดตัวเองในอนาคต ดังนั้นการประเมินค่าสนามกอล์ฟ
ต้องมีการตั้งสมมติฐานที่เหมาะสม และแสดงวิธีการประเมินที่ชัดเจน อธิบายได้ รายงานที่มีแต่ตัวเลขมูลค่าที่ประเมินด้วน
ๆ อาจต้องสงสัยไว้ก่อนว่าจะผิด (จึงไม่แสดงวิธีทำ)! ผู้เขียน J.Richard Tuck,
Jr. ประธานกรรมการ Tuck & Associates, Inc.,
เมืองออแลนโด มลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา จาก
Assessment Journal. IAAO. Sep/Oct 1998, หน้า
37-41
แปลและเรียบเรียงโดย อ.วสันต์ คงจันทร์ สมาชิกสมาคมฯ เลขที่ ส.34/326 ผู้อำนวยการฝ่ายประเมินค่าทรัพย์สิน
บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ใน VAT News 2/2545 เมษายน-มิถุนายน
2542 หน้า 10 |
|
|
|
|