Eng
ไทย
เกี่ยวกับมูลนิธิ
หลักการและจรรยาบรรณ
ราคาประเมินค่าก่อสร้าง
บทความความรู้ข้อแนะนำ
เว็บบอร์ด
ติดต่อมูลนิธิ
การประเมินบ้านด้วยตัวเอง กรณีบ้านที่สร้างเอง
 
อ.วสันต์ คงจันทร์
กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
 
การประเมินบ้านที่ไม่ได้อยู่ในโครงการจัดสรร โดยเฉพาะบ้านที่มีการก่อสร้างเองของประชาชนทั่วไป ทั้งที่เจ้าของบ้านเอง หรือว่าจ้างบริษัทรับเหมาก็แล้วแต่ ถ้าบ้านเพิ่งสร้างเสร็จก็พอรู้ราคา แต่ถ้าสร้างมานานแล้ว ราคาวันนี้เท่าไรแล้ว น่าสนใจประเมินเช่นกัน

        เนื่องจากบ้านประเภทนี้ (ก่อสร้างเอง) ถ้าพิจารณาตามหลักการของ 3 วิธีการประเมินแล้ว จำเป็นต้องเลือกประเมินด้วย วิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach) ด้วยเหตุผลว่า ท่านไม่สามารถหาบ้านที่มีรูปลักษณ์ที่ใกล้เคียงกันมาเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากท่านก่อสร้างตามรูปแบบเฉพาะที่ต้องการแต่ละคน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วต่างคน ต่างชอบ ก็เลยต่างคนต่างสร้าง จึงไม่ค่อยเหมือนใคร (แต่ถ้าแถวนั้นสามารถหาบ้านหลังอื่นที่คล้าย ๆ กัน มาเปรียบเทียบได้มากเพียงพอก็สามารถใช้วิธีการเปรียบเทียบราคาตลาดได้)

        ก่อนผมจะแสดงตัวอย่าง ขอย้อนกล่าวถึงหลักการของ วิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach) สั้นๆ อีกครั้งเพื่อความเข้าใจ กล่าวคือ "มูลค่าของสิ่งหนึ่ง = ต้นทุนในการหาสิ่งอื่นที่เทียบเคียงได้มาทดแทน"

        ในรายละเอียดของวิธีการ ก็คือ การประเมินมูลค่าที่ดิน บวกกับมูลค่าอาคารและสิ่งก่อสร้าง ณ ปัจจุบัน กล่าวโดยละเอียดตามขั้นตอนของวิธีการได้ ดังนี้

  1) การประเมินมูลค่าอาคาร ณ ปัจจุบัน โดยมีหลักการ คือ
    1.1 การประมาณการต้นทุนค่าก่อสร้างใหม่ ณ ปัจจุบัน
      แม้ว่าอาคารสร้างมา 20 ปีแล้วก็ตาม ให้คิดค่าก่อสร้างถ้าต้องก่อสร้างใหม่ ณ วันนี้ (ด้วยคุณภาพวัสดุ รูปแบบบ้านเดียวกัน) ซึ่งจะต้องทำการสำรวจบ้านเราว่า
      มีขนาดบ้านเท่าไร (กี่ตารางเมตร) เนื้อที่ใช้สอยหลัก (นับเฉพาะที่มีผนังกั้น) และพื้นที่ทีไม่มีผนังกั้น เช่น โรงรถ ระเบียง รั้ว ฯลฯ
      โครงสร้างบ้านเป็นอาคารตึกหรือไม้ วัสดุพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน หลังคาบ้าน
      คุณภาพวัสดุเป็นอย่างไร มีความประณีตในการก่อสร้างแค่ไหน เป็นต้น
      ในการประเมินค่าก่อสร้างใหม่ของอาคาร สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่สะดวกใช้ในงานประเมิน ปกติจะใช้ราคามาตรฐานของ "สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย" เป็นเกณฑ์ (ใช้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญทำการประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารมาตราฐานไว้ 31 รายการ ตามตาราง 1) หรือจะให้วิศวกรถอดแบบก่อสร้างก็ได้ ถ้ามีแบบแปลนอาคาร
ตาราง 1 : รายการมาตรฐานค่าก่อสร้าง ของ "สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย" ปี 2544 (update ทุกปี) ดังนี้
ตาราง 1 : ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2544 กำหนดโดยสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
เลข
ที่
รายการประเภททรัพย์สิน
ที่กำหนดราคามาตรฐาน
(ตัวเลขเป็นราคา บาท/ตารางเมตร)
ณ สิ้นปี 2539
ราคาที่ใช้ในปี 2543
ใช้ราคาวัสดุก่อสร้างเดือน กพ.
ราคาที่ใช้ในปี 2544
ใช้ราคาวัสดุก่อสร้างเดือน กค.
อายุ
อาคาร
(ปี)
ค่า
เสื่อม
/ปี
หมาย
เหตุ
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
1 บ้านเดี่ยวไม้ชั้นเดียว 4,200 4,800 5,400 5,200 6,000 6,800 5,450 6,300 7,150 20 5%
2 บ้านเดี่ยวไม้ 2 ชั้น 3,600 4,500 5,200 4,500 5,600 6,500 4,750 5,900 6,850 20 5%
3 บ้านเดี่ยวไม้ ใต้ถุนสูง (ประเมินเฉพาะชั้นบน) 5,200 5,500 6,000 6,500 6,900 7,500 6,850 7,250 7,900 20 5%
4 บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ 4,200 5,000 5,700 5,200 6,200 7,000 5,450 6,500 7,350 25 4%
5 บ้านเดี่ยวตึกชั้นเดียว 5,200 6,000 6,800 6,500 7,500 8,500 6,850 7,900 8,950 50 2%
6 บ้านเดี่ยวตึก 2-3 ชั้น 4,800 5,600 6,800 6,000 7,000 8,500 6,300 7,350 8,950 50 2%
7 บ้านแฝดชั้นเดียว 4,400 5,200 6,000 5,500 6,500 7,500 5,800 6,850 7,900 50 2%
8 บ้านแฝด 2-3 ชั้น 4,000 4,600 5,200 5,000 5,800 6,500 5,250 6,100 6,850 50 2%
9 ทาวน์เฮาส์ชั้นเดียว 3,800 4,700 5,100 4,600 5,700 6,200 4,850 6,000 6,500 50 2%
10 ทาวน์เฮาส์ 2-3 ชั้น กว้าง 4 เมตร 3,600 4,400 5,200 4,500 5,500 6,500 4,750 5,800 6,850 50 2%
11 ทาวน์เฮาส์ 2-3 ชั้น กว้าง 5-6 ม. ไม่มีเสากลาง 4,500 5,200 6,000 5,600 6,500 7,500 5,900 6,850 7,900 50 2%
12 ทาวน์เฮาส์ 2-3 ชั้น กว้าง 5-6 ม. มีเสากลาง 3,800 4,600 5,400 4,800 5,800 6,800 5,050 6,100 7,150 50 2%
13 ห้องแถวไม้ 1-2 ชั้น 2,400 3,000   3,000 3,800   3,150 4,000   20 5%
14 อาคารพาณิชย์ชั้นเดียว 2,800 3,200 3,600 3,500 4,000 4,500 3,700 4,200 4,750 50 2%
15 อาคารพาณิชย์ 2-3 ชั้น 3,200 3,800 4,500 4,000 4,700 5,500 4,200 4,950 5,800 50 2%
16 อาคารพาณิชย์ 4-5 ชั้น 3,000 3,600 4,200 3,800 4,500 5,200 4,000 4,750 5,450 50 2%
17 อาคารพักอาศัยไม่เกิน 5 ชั้น 5,100 6,400 7,200 6,400 8,000 9,000 6,700 8,400 9,450 50 2%
18 อาคารพักอาศัย 6 -15 ชั้น 6,000 8,000 9,600 7,500 10,000 12,000 8,050 10,700 12,850 50 2%
19 อาคารพักอาศัย 16-25 ชั้น 8,000 10,000 12,800 10,000 12,500 16,000 10,800 13,500 17,300 50 2%
20 อาคารพักอาศัย 26-35 ชั้น 8,800 11,200 14,400 11,000 14,000 18,000 11,900 15,100 19,450 50 2%
21 อาคารธุรกิจ ไม่เกิน 9 ชั้น   8,000 9,600   10,000 12,000   10,800 12,950 50 2%
22 อาคารธุรกิจ 10-20 ชั้น   9,200 11,600   11,500 14,500   12,400 15,650 50 2%
23 อาคารธุรกิจ 21-35 ชั้น   12,000 16,000   15,000 20,000   16,200 21,600 50 2%
24 อาคารสรรพสินค้าที่สูงไม่เกิน 3 ชั้น   7,600 8,800   9,500 11,000   10,250 11,900 50 2%
25 ศูนย์การค้าสูง 4 ชั้นขึ้นไป   10,400 12,800   13,000 16,000   14,050 17,300 50 2%
26 อาคารจอดรถ ส่วนบนดิน 4,400 4,800   5,500 6,000   6,050 6,600   50 2%
27 อาคารจอดรถ ส่วนใต้ดิน (1-2 ชั้น)   8,000     10,000     11,000   50 2%
28 อาคารจอดรถ ส่วนใต้ดิน (3-4 ชั้น)   12,800     16,000     17,600   50 2%
29 โกดัง-โรงงาน ทั่วไป 2,900 3,600   3,600 4,500   3,800 4,750   30 3%
30 สนามเทนนิส: 1 สนาม สนามละ 800,000 บ. สนามละ 1,000,000 บ. สนามละ 1,070,000 บ. ไม่กำหนดไว้
31 สนามเทนนิส: 3 สนามติดกัน สนามละ 640,000 บ. สนามละ 800,000 บ. สนามละ 860,000 บ. ไม่กำหนดไว้
  อธิบายเพิ่มเติม :
  ก. การหักค่าเสื่อมจะหักจนหมดอายุการใช้งานจนถึงศูนย์ เว้นแต่อาคารที่สามารถมีอายุเกินกว่าที่กำหนดนี้ ให้ประมาณการอายุที่ยังเหลืออยู่จริง ณ วันที่ประเมิน
  ข. การหักค่าเสื่อมจะหตามเปอร์เซ็นต์ต่อปีที่กำหนดจนเหลือประมาณ 40% และเมื่อนั้นหยุดหักค่าเสื่อม ให้ถือว่าอาคารนั้นมีค่าเสื่อมคงที่ 40% แม้จะมีอายุเพิ่มขึ้นก็ตาม ตัวอย่างเช่น บ้านเดี่ยวตึกชั้นเดียว กำหนดอายุอาคารไว้ 50 ปี แสดงว่าให้หักค่าเสื่อมได้ปีละ 2% (100% หาร 50 ปี) หากบ้านเดี่ยวหลังนั้นมีอายุ 30 ปี ก็ย่อมหักค่าเสื่อมไป 60% เหลือราคาเท่ากับ 40% แต่ถ้าบ้านข้างเคียงอีกหลังหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกัน มีอายุ 40 ปี ก็คงหักค่าเสื่อมถึง 60% แล้วหยุดหักเช่นกัน โดยถือว่าอาคารอายุ 30 หรือ 40 ปีนั้น มีราคาหลังหักค่าเสื่อมเท่ากัน คือ 40% ของราคาค่าก่อสร้างใหม่ ทั้งนี้เพราะโครงสร้างอาคารมาตรฐานย่อมไม่เสื่อมโทรมลง อาคารที่สร้างตามมาตรฐานวิศวกรรมอาจสามารถอยู่ได้นับร้อยปี แต่สิ่งที่เสื่อมโทรมลงคือระบบประกอบอาคาร ผนังหรืออื่น ๆ โครงสร้างของอาคารมีมูลค่าประมาณ 60% ของทั้งหมด ดังนั้นจึงประมาณการว่า ในกรณีที่อาคารมีอายุ 30 ปีขึ้นไป อย่างน้อยที่สุดโครงสร้างที่เหลือและส่วนอื่น ๆ (ถ้ามี) น่าจะมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 40% ของราคาค่าก่อสร้างใหม่ ทั้งนี้หากกรณีอาคารที่มีอายุมากเป็นพิเศษ เช่น ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
 
ค่าก่อสร้างข้างต้น รวมค่าดำเนินการ ภาษี กำไร แล้ว และเป็นค่าก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น กรณีต่างจังหวัดจะต้องปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม เนื่องจากค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าขนส่งเป็นตัวแปร

ในเอกสารฉบับสมบูรณ์ จะระบุคุณภาพวัสดุ รูปแบบ และอื่น ๆ ไว้ชัดเจนเป็นระดับ (ต่ำ ปานกลาง สูง) ว่าต้องมีสเปควัสดุขนาดไหน จึงจะเรียกว่า ระดับสูง หรือปานกลาง หรือต่ำ

        ตัวอย่างรายการสเปค 2 ประเภทบ้านที่น่าจะใช้ประโยชน์ได้มากในการประเมินบ้านอยู่อาศัย ที่ก่อสร้างเอง
    อาคารลำดับที่ 4 ประเภทบ้านเดี่ยวครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น
ระดับราคาต่ำ (ตรม.ละ 5,450 บาท)
    โครงสร้างทั่วไปเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้
    หลังคามุงกระเบื้องลอน
    พื้นชั้นล่างไม่มีวัสดุบุผิว ขัดมันเรียบ ชั้นบนเป็นไม้
    ห้องน้ำ ไม่มีวัสดุบุผิว ขัดมันเรียบ
    ประตูเป็นไม้
    หน้าต่างกระจกกรอบไม้
   
ระดับราคาปานกลาง (ตรม.ละ 6,500 บาท)
    โครงสร้างทั่วไปเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้
    หลังคามุงกระเบื้องลอน
    ฝ้าเพดานเป็นยิบซั่มบอร์ด เคร่าห้อยแขวน หรือวัสดุอื่นในระดับราคาเดียวกัน
    พื้นชั้นล่างปูกระเบื้องเคลือบหรือวัสดุอื่นในระดับราคาเดียวกัน พื้นชั้นบนเป็นไม้ตีชิด
    ห้องน้ำ บุพื้นด้วยกระเบื้องเคลือบ
    ประตูเป็นไม้
    หน้าต่างกระจกกรอบไม้
   
ระดับราคาสูง (ตรม.ละ 7,350 บาท)
    โครงสร้างทั่วไปเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้
    หลังคามุงกระเบื้องลอน
    ฝ้าเพดานเป็นยิบซั่มบอร์ด เคร่าห้อยแขวน หรือวัสดุอื่นในระดับราคาเดียวกัน
    พื้นชั้นล่างปูกระเบื้องเคลือบหรือวัสดุอื่นในระดับราคาเดียวกัน พื้นชั้นบนเป็นไม้แดงหรือไม้มะค่าเข้าลิ้น
    ห้องน้ำ บุพื้นด้วยกระเบื้องเคลือบ
    ประตูเป็นไม้
    หน้าต่างกระจกกรอบไม้
   
อาคารลำดับที่ 6 ประเภทบ้านเดี่ยวตึก 2-3 ชั้น
ระดับราคาต่ำ (ตรม.ละ 6,300 บาท)
    โครงสร้างทั่วไปเป็นคอนกรีต
    หลังคามุงกระเบื้องลอน
    พื้นคอนกรีตขัดมัน ไม่มีวัสดุปูพื้น
    ห้องน้ำ บุพื้น ผนัง ด้วยกระเบื้องขนาดเล็ก
    ประตูทางเข้าเป็นกระจกกรอบไม้ ประตูทั่วไปเป็นไม้อัดยาง
    หน้าต่างกระจกกรอบไม้หรืออลูมิเนียม
   
ระดับราคาปานกลาง (ตรม.ละ 7,350 บาท)
    โครงสร้างทั่วไปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
    หลังคามุงกระเบื้องโมเนียเป็นส่วนใหญ่
    ฝ้าเพดานเป็นยิบซั่มบอร์ด หรือวัสดุอื่นในระดับราคาเดียวกัน
    พื้นปูกระเบื้องเคลือบหรือวัสดุอื่นในระดับราคาใกล้เคียงกัน
    ห้องน้ำบุพื้น ผนังด้วยกระเบื้องเคลือบ สุขภัณฑ์นั่งราบ
    ประตูทางเข้าเป็นกระจกกรอบไม้ ประตูทั่วไปเป็นไม้อัดยาง
    หน้าต่างกระจกกรอบไม้หรืออลูมิเนียม
   
ระดับราคาสูง (ตรม.ละ 8,950 บาท)
    โครงสร้างทั่วไปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
    หลังคามุงกระเบื้องโมเนียเป็นส่วนใหญ่
    ฝ้าเพดานเป็นยิบซั่มบอร์ดฉาบเรียบ หรือวัสดุอื่นในระดับราคาเดียวกัน
    พื้นปูปาร์เก้ชนิดลิ้นล่อง และมีขนาดต่อชิ้นยาวไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว หรือวัสดุอื่นในระดับราคาใกล้เคียงกัน
    ห้องน้ำบุพื้น ผนังด้วยกระเบื้องเคลือบจรดเพดาน มีสุขภัณฑ์ครบถ้วน คุณภาพดี มีอ่างอาบน้ำ
    ประตูทางเข้าเป็นกระจกสีชากรอบไม้ หรืออลูมิเนียม ประตูทั่วไปเป็นไม้อัดสัก หรือวัสดุอื่นในระดับราคาใกล้เคียงกัน
    หน้าต่างกระจกกรอบไม้หรืออลูมิเนียม
    ผนังบุ วอลล์เปเปอร์บางส่วน ห้องครัวบุพื้น ผนังด้วยกระเบื้องเคลือบ
    ดังนั้นพอตรวจสอบโครงสร้าง และวัสดุต่าง ๆ แล้ว ก็พิจารณาค่าก่อสร้างใหม่ (ต่อตารางเมตร) ที่เหมาะสม ตามระดับราคาต่าง ๆ (อาจไม่จำเป็นต้องเท่ากับราคาที่กำหนด อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ถ้ารายการสเป็ควัสดุ แตกต่างออกๆ ไปบ้าง)

แล้วนำค่าก่อสร้างใหม่ (ต่อตารางเมตร) นำไปคูณกับพื้นที่ใช้สอยหลัก (เฉพาะที่มีผนังกั้น) เป็นสำคัญ ส่วนพื้นที่ใช้สอยที่ไม่มีผนังกั้นอาจประมาณการโดยคร่าว ๆ ก็ได้ (ดูตาราง 2)

    1.2 ขั้นตอนต่อไป ถ้าบ้านมีอายุการใช้งานมาแล้ว จะต้องหักค่าเสื่อมราคา ตามอายุการใช้งานที่ใช้ไป (ทั้งที่อยู่และไม่ได้อยู่) แต่ถ้าบ้านก่อสร้างใหม่ก็ไม่ต้องหักค่าเสื่อม

ค่าเสื่อมราคา ตามความเข้าใจทั่วไปแล้ว เป็นค่าเสื่อมทางกายภาพ (อายุการใช้งาน สภาพการใช้งาน การสึกหรอ การดูแลรักษา) แต่ในการประเมินราคาแล้วนอกจากค่าเสื่อมทางด้านกายภาพแล้ว ยังมีอีก 2 ประการที่ต้องพิจารณาด้วยกัน คือ ค่าเสื่อมทางด้านประโยชน์การใช้สอย (ความล้าสมัย) และค่าเสื่อมทางด้านเศรษฐกิจ (ความสูญเสียอันมาจากปัจจัยภายนอก เช่น การรบกวน มลภาวะ สภาพแวดล้อม ฯลฯ)

โดยหลักการหักค่าเสื่อมราคา กล่าวคือ ต้องประมาณว่าบ้านจะมีอายุการใช้งานสักกี่ปี เช่น ถ้าคาดว่า 50 ปี ดังนั้น ค่าเสื่อมราคาปีละ 2% (เพราะเสื่อมปีละ 2% รวม 50 ปี = 100% พอดี) หรือถ้าคาดว่าเป็นจะมีอายุ 40 ปี ค่าเสื่อมก็ต้องปีละ 2.5% เป็นต้น

    1.3 นำค่าก่อสร้างใหม่ หักออกด้วยค่าเสื่อมราคา จะได้มูลค่าอาคาร ณ ปัจจุบัน
  2) นำมารวมกับมูลค่าที่ดิน (จากการเปรียบเทียบตลาดที่มีการซื้อขายในบริเวณนั้น) ก็จะได้มูลค่าทรัพย์สินรวม
  3) ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าจะประเมินบ้านที่ก่อสร้างเองหลังหนึ่ง ที่มีรายละเอียดบ้าน ดังนี้
ตาราง 2 ตัวอย่างการประเมินค่าบ้านก่อสร้างเอง ด้วยวิธีการต้นทุน (Cost Approach)
               
1 การประเมินมูลค่าอาคารและสิ่งก่อสร้าง      
  ลำดับ รายการเนื้อที่ใช้สอยอาคาร ขนาด ค่าก่อสร้างใหม่ เป็นเงิน    
      (ตรม.) (บาท@ตรม.) (บาท)    
  1.1 เนื้อที่ใช้สอยหลัก (ภายในบ้าน) 105.00 7,350.00 771,750.00   ระดับราคาปานกลาง
  1.2 ระเบียง (4x6 ม.) 24.00 1,500.00 36,000.00   พื้นกระเบื้อง มีลูกกรง
  1.3 โรงรถ (4x 8 ม.) 32.00 2,000.00 64,000.00   พื้นกระเบื้อง หลังคาโมเนีย
  1.4 ประตูรั้ว (สูง 1.5 ม. ยาว 3.0 ม.) 4.50 2,500.00 11,250.00   อัลลอยด์
  1.5 รั้วรอบบ้าน (สูง 1.5 ม. ยาว 60 ม.) 90.00 1,200.00 108,000.00   เหล็กดัด ลวดลาย
               
  1.6 รวมค่าก่อสร้างใหม่ ณ ปัจจุบัน     991,000.00   รวมรายการ 1.1-1.5
  1.7 หักค่าเสื่อมอาคาร อายุ 10 ปีละ 2.0% รวม 20% เป็นเงิน 198,200.00   อายุบ้านรวม 50 ปี
  1.8 คงเหลือมูลค่าอาคารตามสภาพ ณ ปัจจุบัน     792,800.00   หักค่าเสื่อมแล้ว
               
2 การประเมินมูลค่าที่ดิน      
  2.1 เนื้อที่ดิน     50.00   สมมติ
  2.2 ประเมินค่า     20,000.00   เปรียบเทียบตลาด
  2.3 มูลค่าที่ดิน     1,000,000.00   รายการ 2.1 x 2.2
               
3 มูลค่าทรัพย์สิน (มูลค่าทีดิน + มูลค่าอาคารสิ่งก่อสร้าง) 1,792,800.00   รายการ 1.8 + 2.3
  มูลค่าทรัพย์สินโดยประมาณ 1,790,000.00    
  วิธีนี้ส่วนมากใช้สำหรับอาคารที่สร้างขึ้นเฉพาะ นอกจากบ้านอยู่อาศัยที่สร้างเองแล้ว ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น อาคารโรงงาน โชว์รูม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ข้อพึงพิจารณาในการใช้มูลค่าจากวิธีการนี้ ก็คือ ในบ้างครั้งมูลค่าที่ประเมินได้ ไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง เช่น ในภาวะตลาดที่ที่ราคาทรัพย์สินตกต่ำ แต่ต้นทุนวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น บางครั้งต้นทุนที่คำนวณได้อาจจะแพงกว่ามูลค่าตลาด ทำอาจให้การประเมินด้วยวิธีนี้ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงได้เหมือนกัน

Area Trebs FIABCI
 
10 ถนน.นนทรี กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์:66 2295 3171: โทรสาร: 66 2295 3994 Email: info@thaiappraisal.org   สถานที่ตั้ง: แผนที่