ไม่แปลกที่สังคมเมืองไทยจะได้เห็นภาพการร้องเรียนขอความ
เป็นธรรมของผู้บริโภคที่กำลังผจญอยู่กับความ
"ทุกข์" ในกรณีผู้บริโภคซื้อบ้านแล้วเกิดปัญหา
"โจทย์" หินสำหรับ
บรรดาดีเวลอปเปอร์เจ้าของโครงการจัดสรรไม่อาจหลีกเลี่ยงไปได้แบบง่ายๆ
ไม่ต่างจากเสียงสะท้อนความทุกข์จาก
ผู้ซื้อบ้านแล้วเกิดปัญหาจากลูกบ้านกว่า 24
ครอบครัวจากทั้งหมด 78 ครอบครัว ในโครงการอารียา
ชบา เอ็กซ์คลูซีฟ เกษตร-นวมินทร์
เฟสต่อเนื่องจากอารียา สวนา บ้านเดี่ยว 2 ชั้น
สไตล์ contemporary บนเนื้อที่โครงการกว่า 21
ไร่เศษ
"ผมตัดสินใจซื้อบ้านในโครงการนี้เพราะต้องการซื้ออนาคตให้กับลูกๆ
ที่เริ่มโตกันแล้ว
อยากให้เขาอยู่ในสังคมที่มีคุณภาพ
แต่มาเจอแบบนี้เข้าทำให้เสียความรู้สึกมากๆ"
ลูกบ้านรายหนึ่งระบายความ อัดอั้นตันใจกับ
"ประชาชาติธุรกิจ"
เขาเล่าว่า
เมื่อตัดสินใจที่จะซื้อบ้านหลังแรกในชีวิตเพื่อสร้างครอบครัวในราคา
5 ล้านบาทอัพ
เขาและครอบครัวตระเวนดูบ้านมาหลายโครงการ หลายทำเล
สุดท้ายมาจบลงที่โครงการอารียาแห่งนี้
เหตุผลการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านที่
โปรเจ็กต์นี้ เพราะเห็นเมื่อ 4
ปีก่อนอารียาเป็นบริษัทที่กำลังมาแรงมากๆ
ในวงการอสังหาฯ ทั้งชื่อเสียงและแบรนด์สินค้า
แถมเป็นบริษัทอสังหาฯในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ยิ่งทำให้เชื่อมั่นได้ว่าการซื้อบ้านในโครงการนี้คงไม่มีปัญหา
แต่หลังจากที่ย้ายเข้ามาอยู่พบว่าผู้ที่ซื้อบ้านในโครงการนี้กว่า
17 ครอบครัวกำลังเผชิญชะตากรรมไม่แตกต่างกันมากนัก
หลักๆ คือ ไร้ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน,
ความไม่โปร่งใสในการจัดตั้ง นิติบุคคลบ้านจัดสรร,
ไฟในบ้านตกและกระตุกบ่อยครั้ง,
การจัดเก็บค่าส่วนกลาง ที่ไม่โปร่งใส
รวมทั้งการก่อสร้างคลับเฮาส์ที่ยังไม่มีความคืบหน้า
ฯลฯ
หนักสุดคือความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินภายในโครงการไม่มีการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด
บุคคลภายนอกสามารถเข้าออกได้อย่างอิสระ
จึงน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกบ้านและตนเอง
ถูกโจรกรรมทรัพย์สินแบบซ้ำซาก
!
ซ้ำร้าย...กรมธรรม์สินไหมทดแทน
ที่บริษัทรักษาความปลอดภัยได้ทำไว้กับบริษัทประกันภัยกลับไม่ได้ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินที่เป็นเงินสดและทองคำ
ทำให้
ไม่สามารถเรียกร้องสินไหมทดแทนได้เลยในกรณีที่เกิดขึ้น
"ทั้งๆ
ที่เราก็ป้องกันทุกอย่างแล้วยังโดนเลย
เงินสดและทองคำที่เก็บไว้หายเกลี้ยงมูลค่าประมาณ 6
แสนกว่าบาท
หลังเกิดเหตุผมได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เป็นพนักงานขายประจำโครงการทราบ
และมาถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานไว้ในเบื้องต้น
โดยได้รับ
คำยืนยันว่าจะนำเรื่องดังกล่าวแจ้งให้กับ
ผู้บริหารระดับสูงทราบ แต่ก็เงียบ"
เขาย้ำว่า
การออกมาเรียกร้องต่อสื่อมวลชนครั้งนี้เพียงเพื่อต้องการให้เจ้าของโครงการคือบริษัท
อารียา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ออกมาแสดงความ
รับผิดชอบ
และหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นอีกให้สมกับที่พวกเขายอมจ่ายเงินหลายล้านบาทที่เก็บออมมาทั้งชีวิตเพื่อซื้อ
"สังคม" ดีๆ ให้กับตัวเองและลูกหลาน
ด้าน
"วิศิษฐ์ เลาหพูนรังษี" ซีอีโอค่ายอารียา
พร็อพเพอร์ตี้ ชี้แจงเรื่องที่เกิดขึ้นกับ
"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในฐานะ
ผู้บริหารระดับสูงและเป็นผู้พัฒนาโครงการดังกล่าว
ขอชี้แจงในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1.การรักษาความปลอดภัย
บริษัทได้ว่าจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยทำหน้าที่ตามสัญญาการว่าจ้างบริษัทเหล่านี้จะต้องซื้อกรมธรรม์ประกันความเสี่ยง
เมื่อเกิดเหตุ
ขึ้นตามขั้นตอนลูกบ้านจะต้องไปแจ้งความ
และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ประจำโครงการ
จากนั้นบริษัทจะเข้าไปดูแลในเรื่องการเรียกร้องสินไหมทดแทนให้กับลูกค้า
"กรณีที่เกิดโจรขึ้นบ้านบ่อยครั้งน่าจะ
มาจากในช่วงนี้ภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี
ทำให้เกิดกลุ่มมิจฉาชีพก่อเหตุบ่อยครั้ง
บางกรณีอาจเกิดจากความหละหลวมของ
รปภ.ประจำโครงการด้วย
ซึ่งผมได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลและตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดแล้ว"
ขณะเดียวกันได้ประสานงานกับบริษัทรักษาความปลอดภัยให้เสริมมาตรการ
การรักษาความปลอดภัย
โดยเพิ่มพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็น 9 นาย
จากเดิม มีเพียง 7 นาย ประสานงานกับตำรวจ
ติดตั้งจุดตรวจภายในโครงการ
และเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัย
โดยการสับเปลี่ยนพนักงานรักษาความปลอดภัยทุก 6
เดือน
2.กรณีคลับเฮาส์ นโยบายเดิมบริษัท
มีแผนจะก่อสร้างคลับเฮาส์ บนเนื้อที่กว่า 3 ไร่
ดำเนินการแบบสปอร์ตคลับเก็บ ค่าบริการ
เพราะพื้นที่ดังกล่าวมีชุมชน
ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาของบริษัทในอนาคตอีกหลายโครงการ
อีกทั้งเป็น การเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการ
ไม่ถือเป็นบริการส่วนกลาง
เนื่องจากแต่ละโครงการมีพื้นที่ส่วนกลางตามที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว
ปัจจุบันคลับเฮาส์อยู่ระหว่างก่อสร้าง
จะแล้วเสร็จปลายปี 2552
"อาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในประเด็นนี้
เพราะแผนการสร้างคลับเฮาส์เกิดหลังจากที่เราเปิดขายโครงการสวนาด้วยซ้ำ
ไม่ได้คอมมิตว่าจะยกเป็นส่วนกลางของลูกบ้านในโครงการเลย
สำหรับบ้านในกลุ่มชบาฯ
ผมขอไปตรวจสอบกับทีมขายก่อนว่าได้พูดอะไรที่เกินเลยความเป็นจริง
ในประเด็นนี้กับลูกค้ามากน้อยแค่ไหน"
3.การจัดเก็บค่าสาธารณูปโภค
บริษัท ได้เก็บเงินค่าส่วนกลางล่วงหน้าในอัตรา 25
บาท/ตร.ว./เดือน
และเก็บเงินเข้ากองทุนหมู่บ้านล่วงหน้า 1
ปีในตอนโอนกรรมสิทธิ์
และได้นำเงินที่เรียกเก็บล่วงหน้ามาเป็น
ค่าบริหารจัดการและค่าสาธารณูปโภคในโครงการ
เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้ซื้อไป 80%
โดยได้นำไปเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่
บริการรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง,
บริการรักษาความสะอาดเรียบร้อย,
จัดเก็บขยะในโครงการ
และค่าไฟฟ้าส่องสว่าง
ในเรื่องนี้ได้จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายไว้ทั้งหมด
เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรแล้วเสร็จก็จะโอนเงินเข้ากองทุนกรรมการหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นทันที
เท่าที่ทราบขณะนี้อยู่ระหว่างการขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติฯอยู่
4.กำลังไฟไม่เพียงทำให้เกิดปัญหา
ไฟตกบ่อย การพัฒนาโครงการบ้านจัดสรร
บริษัทได้ขออนุญาตติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า
ที่ถูกต้องตามมาตรฐานตามเกณฑ์ การไฟฟ้านครหลวง
ดังนั้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากการจ่ายกระแสไฟฟ้าของทางราชการมากกว่า
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้บริษัทยังไม่เคย
ได้รับแจ้งจากลูกบ้าน
แต่จะดำเนินการประสานงานกับการไฟฟ้านครหลวงเพื่อเข้ามาตรวจสอบ
จุดจบเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรต้องติดตามกันต่อไป |