เสวนาวิชาการรายเดือนครั้งที่ 142 ปัญหาผังเมืองที่ผิดเพี้ยน: กรณีศึกษาพื้นที่เขียวทะแยง
วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม 2557 เวลา 13:00-17:00 ณ ห้องประชุม มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย |
พื้นที่สีเขียวทแยง ที่ระบุให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ให้ทำการเกษตร แต่ตอนนี้จัดสรรกันแทบหมดแล้ว!
ผังเมืองที่ประกาศใช้ในกลางปี พ.ศ.2556 มีจุดบกพร่องหลายประการ ประการหนึ่งก็คือการกำหนดพื้นที่สีเขียวทแยง ซึ่งก็คือพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม โดยบริเวณสำคัญหนึ่งอยู่ในเขตลาดกระบัง และเขตหนองจอก ตามทฤษฎีเขตนี้น่าจะใช้เพื่อการเกษตรกรรมเป็นหลัก แต่โดยที่อาจขาดการส่งเสริมกิจกรรมเกษตรกรรม และขาดการควบคุมที่ดี มีการตีความแบบผิดเพี้ยน จึงกลายเป็นว่าผลการสำรวจกรณีศึกษาลาดกระบัง มีโรงงาน มีการจัดสรรที่ดินและอื่น ๆ เกิดขึ้นมากมาย เหลือพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมจริงๆ เพียงราวหนึ่งในสี่ การวางผังเมืองที่ไม่เป็นจริงเช่นนี้จะทำอย่างไรดี ลองมาดูกรณีศึกษาและการระดมสมองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
กำหนดการ |
12:30 |
ลงทะเบียน |
13:00 |
เปิดการเสวนาและรายงานกิจกรรม
ศาสตราภิชาน กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย |
13:15 |
แนวคิดการจัดทำพื้นที่สีเขียวทแยงในผังเมืองรวม
ดร.อรพิมพ์ พิมพ์เจริญ นักผังเมืองชำนาญการ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร |
14:00 |
ผลสำรวจการใช้ที่ดินในพื้นที่เขตลาดกระบังที่แตกต่างไปจากผังที่วางไว้: กรณีศึกษาลาดกระบัง
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส |
15:15 |
พัก-รับประทานเครื่องดื่ม เครื่องเคียง |
15:30 |
การอภิปราย "แนวทางการแก้ไขปัญหาผังเมืองที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง: กรณีลาดกระบัง"
ศาสตราจารย์การุณ จันทรางศุ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
คุณภูมิพัฒน์ คิดชอบ ผู้ช่วยผู้จัดการ บริษัท อินแลนด์ คอนเทนเนอร์ ดีลิวิรี จำกัด
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานก่อตั้ง มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย |
17:00 |
ปิดการเสวนา |
|