3    พฤษภาคม    2556

เรื่อง     คัดค้านร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556

เรียน    น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
            นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
            นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
            นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
            นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
            นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
            นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
            นายประชา ประสพดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
            พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 
            นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 
            พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
            นายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 
            นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
            นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
            ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
            นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

                     ตามที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ได้อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครนั้น คณะรัฐมนตรีน่าจะทบทวนมติดังกล่าว เหตุผลที่อนุมัติตามการแถลงข่าวมติคณะรัฐมนตรีไม่เป็นความจริง ดังที่ว่า "เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและดำรงรักษากรุงเทพมหานคร โดยมีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อมที่ดี มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าอยู่ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจวิทยากรการของประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และศูนย์กลางการบริหารและการปกครองของประเทศ มีเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ ตลอดจนการเป็นเมืองต้นแบบในด้านการรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ รวมไปถึงลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" กระผมจึงจึงขอคัดค้านร่างดังกล่าวดังนี้พร้อมรายชื่อผู้มีความรู้ด้านการผังเมือง การพัฒนาเมือง หรืออสังหาริมทรัพย์ที่เห็นด้วยกับผมจำนวน 108 คนแนบมาด้วย และมีความเห็นค้านร่างผังเมืองดังกล่าวดังนี้:
                     1. ในพื้นที่ธุรกิจใจกลางเมืองถูกจำกัดการก่อสร้างทั้งที่ควรให้พัฒนาในแนวสูง เพื่อใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่าและเก็บภาษีได้มาก เช่นพื้นที่ ย.9 ย.10 แถวสุขุมวิทสามารถสร้างได้เพียง 7-8 เท่าของขนาดที่ดิน และต้องมีอัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวมถึง 4.5-4% ตามลำดับ  หากเจ้าของที่ดินมีที่ดินแปลงหนึ่งขนาด 1 ไร่ ก็ต้องเว้นพื้นที่โดยรอบถึงราว 32% หรือหนึ่งในสาม กรุงเทพมหานครมักอ้างว่ามีไฟไหม้อาคารขนาดใหญ่บ่อยครั้ง ซึ่งไม่จริง ในช่วง พ.ศ.2550-5 อาคารเหล่านี้ เกิดเพลิงไหม้ลดลงจาก 9% เหลือ 1% อาคารเหล่านี้มีระบบป้องกันไฟไหม้ที่ดี กรุงเทพมหานครควรปรับปรุงประสิทธิภาพในการดับเพลิง แทนที่จะนำมาอ้างเพื่อกีดขวางการพัฒนา
                     2. ร่างผังเมืองนี้ทำให้เมืองขยายออกไปในแนวราบ รุกทำลายสิ่งแวดล้อมและพื้นที่เกษตรกรรม สิ้นเปลืองงบประมาณขยายสาธารณูปโภคไม่สิ้นสุด ยังทำให้ประชาชนเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งเป็นการผลักภาระและปัญหาไปสู่จังหวัดอื่น เช่น
                     2.1 ในพื้นที่ ย.3 ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหลายร้อยตารางกิโลเมตรและมีอะพาร์ตเมนต์ให้บริการผู้มีรายได้น้อยมากมาย กรุงเทพมหานครกลับห้ามสร้างอะพาร์ตเมนต์ขนาดเกิน 1,000 ตารางเมตรหากถนนผ่านหน้าที่ดินมีความกว้างไม่ถึง 30 เมตร ทั้งที่รู้ว่าในความเป็นจริงไม่มีซอยใดที่จะมีความกว้างเช่นนี้
                     2.2 ในพื้นที่ ย.2 ห้ามสร้างทาวน์เฮาส์ ทั้งที่บริเวณเหล่านี้มีทาวน์เฮาส์สำหรับผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยอยู่มากมาย  ดังนั้นต่อไปประชาชนโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางต้องระเห็จออกไปอยู่นอกเมือง โดยตามรอยตะเข็บเขตสมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี กลับมีโครงการใหญ่ๆ ประเภทอาคารชุดและทาวน์เฮาส์มากมาย เพราะไม่สามารถสร้างในเขตกรุงเทพมหานครได้
                     3. ตามร่างผังเมืองใหม่ก็ไม่ได้กำหนดให้มีแผนการป้องกันน้ำท่วมอย่างเป็นรูปธรรมเพราะไม่ได้ทำถนนและเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ระบบเปิดปิดน้ำกันน้ำทะเลหนุน และระบบคลองระบายน้ำใหม่ๆ เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นกรุงเทพมหานครควรดำเนินการอย่างมีบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น
                     4. ผังเมืองที่ออกมาไม่สอดคล้องกับความจริงในหลายประการ เช่น
                     4.1 ถนนบางเส้นไม่จำเป็นต้องสร้าง เช่น ถนน ง.2 หนองจอก เพราะสภาพเป็นทุ่งนา แต่บางเส้นเล็กและคดเคี้ยวกลับไม่ตัดถนน เช่นทางเข้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตบางขุนเทียน
                     4.2 กำหนดการใช้พื้นที่ไม่เป็นจริง เช่น พื้นที่พาณิชยกรรม พ.1-12 ถนนนวมินทร์กลับมีสภาพจริงเป็นหมู่บ้านจัดสรร หรือพื้นที่ อ.1-4 ถนนเทียนทะเลที่กำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมเฉพาะ 200 เมตรแรกที่ติดถนน (ฝั่งซ้าย) และ ตลอดแนวคลองที่ขนานกับถนน (ฝั่งขวา)  แต่ในความเป็นจริง พื้นที่โดยรอบก็มีโรงงานมากมาย  ผังเมืองจึงวางอย่างละเอียดรอบคอบกว่านี้
                     4.3 ในข้อ 36 ของร่างผังเมืองฉบับนี้กำหนดว่าที่ดินที่ติดถนนน้อยกว่า 12 เมตร หรือที่ดินลึกจากถนนเกิน 200 เมตรไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทำให้ที่ดินเหล่านี้ต้องปล่อยรกร้างหรือทำประโยชน์ได้จำกัด และสำหรับที่ดินที่อยู่ติดถนนที่มีความกว้าง 12, 16 หรือ 30 เมตร ต้องกว้างตามนั้นโดยตลอดเส้น หากส่วนใดของถนนเส้นนี้มีผู้บุกรุกหรือสร้างล้ำเกิน แม้ทะเบียนถนนจะระบุชัดว่ากว้างตามกำหนด ก็ถือว่าไม่ได้ กรณีทำให้เจ้าของที่ดินที่สุจริตหมดโอกาสพัฒนาที่ดิน
                     5. แผนก่อสร้างและปรับปรุงถนน 140 สายตามร่างผังเมืองรวมนั้น หลายสายก็วาดไว้ตั้งแต่ผังเมืองฉบับปัจจุบันที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ.2549 แต่ยังไม่ได้ก่อสร้าง  บางสายก็วาดต่างไปจากเดิม ที่สำคัญก็คือ งบประมาณก่อสร้างถนนตามที่วาดไว้ยังไม่มีการจัดหาไว้ ซึ่งแสดงถึงความไม่แน่นอน
                     6. ผังเมืองกรุงเทพมหานครขาดการพัฒนาสวนสาธารณะ ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่เพียง 4.65 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับมหานครทั่วโลก ที่สำคัญพื้นที่สวนสวนสาธารณะ 26 ตารางกิโลเมตรยังรวมสวนในหมู่บ้านเอกชน เกาะกลางถนน บึงน้ำ พื้นที่ว่างของกองทัพ ฯลฯ เข้าไปด้วย นอกจากนี้สวนสาธารณะส่วนมากจะสร้างในเขตรอบนอกซึ่งมีความจำเป็นน้อย ไม่มีการวางแผนสร้างสวนสาธารณะใจกลางเมือง ดังนั้นการกล่าวอ้างว่าผังเมืองจะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองสีเขียว (Green City) จึงไม่จริง
                     7. ร่างผังเมืองนี้พยายามเสนอข้อดีบางประการ ซึ่งไม่เป็นจริง เช่น
                     7.1 จะเพิ่มการควบคุมกิจกรรมที่ขัดต่อสุขลักษณะ 5 กิจกรรม เช่น สนามแข่งม้า สนามแข่งรถ และสนามยิงปืนนั้น ในความเป็นจริงไม่ได้มีผลในทางปฏิบัติอยู่แล้ว เพราะแทบไม่มีการขออนุญาต
                     7.2 การแจก "แจกโบนัส 5-20%" คือให้สร้างเพิ่มเติมกว่ากฎหมายปกติกำหนด ในรัศมี 500 เมตรรอบสถานีรถไฟฟ้านั้น ก็ใช้ได้เฉพาะสถานีที่สร้างเสร็จแล้ว ไม่ใช่ที่กำลังก่อสร้างอยู่ ดังนั้นจึงไม่มีผลอะไร
                     7.3 การพัฒนาศูนย์เมืองย่อย เช่น ในย่านมีนบุรีที่แนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สีส้มมาบรรจบกัน ย่านพระรามที่ 2 ใกล้กับถนนกาญจนาภิเษก และย่านรามอินทราใกล้จุดตัดถนนรัชดา-รามอินทรา เป็นต้น  หากร่างผังเมืองนี้ได้ประกาศใช้ในปีนี้และหมดอายุในปี 2560 ก็ยังไม่แน่ว่ารถไฟฟ้าทั้งสองสายจะได้สร้างเสร็จ

                     โดยสรุปแล้ว อาจกล่าวได้ว่าร่างผังเมืองนี้ เป็นการแก้ปัญหาเมืองแบบซุกปัญหาไว้ใต้พรม เพราะแทนที่จะจัดระเบียบการใช้ที่ดินที่ดี กลับปัดปัญหาออกไปนอกเมือง นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชากรของกรุงเทพมหานครลดลงในระยะหลายปีที่ผ่านมา เพราะประชาชนไม่สามารถอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครได้ เพราะความพยายามทำเมืองให้หลวม กรุงเทพมหานครควรคิดใหม่ ทำเมืองให้หนาแน่น (High Density) แต่ไม่แออัด (Overcrowded) แต่ปัจจุบันกลับทำในทางตรงกันข้าม
                     ประเด็นหนึ่งที่กรุงเทพมหานครเองไม่สามารถจะแก้ปัญหาของเมืองและวางแผนการพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ เพราะขณะนี้ความเป็นเมืองของกรุงเทพมหานครได้ขยายออกนอกเขตบริหารของกรุงเทพมหานครแล้ว  ยิ่งกว่านั้นกรุงเทพมหานครยังขาดการประสานแผนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้ผังเมืองกับการขยายตัวของสถานศึกษา พื้นที่ปกครอง กิจการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ราคาประเมินของทางราชการ ก็ไม่ได้ยึดโยงกับผังเมือง

                     ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการวางผังเมืองจึงควรดำเนินการวางแผนภาคมหานคร ซึ่งรวมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันวางผังนี้ให้เป็นแผนแม่บทในด้านการปกครอง สาธารณูปโภคและอื่นๆ ในระหว่างนี้ให้ประกาศใช้ผังเมืองฉบับเดิมไปก่อน และให้มีกรอบเวลาการทำผังภาคมหานครให้แล้วเสร็จใน 2 ปี  สำหรับสาระสำคัญดังนี้:
                     1. ในพื้นที่เขตธุรกิจชั้นในของกรุงเทพมหานคร ควรอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่และสูงพิเศษ แต่ให้เว้นพื้นที่ว่างให้มากเพื่อให้เกิดพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ให้สิทธิพิเศษ เพราะกรุงเทพมหานครควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการก่อสร้างอาคารได้สูงหรือใหญ่พิเศษ เพื่อนำเงินไปเข้ากองทุนพัฒนาระบบคมนาคม เช่น รถไฟฟ้ามวลเบา ผ่านเข้าสู่ถนนสายต่างๆ เพื่อการระบายการจราจร
                     2. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ประสาน
                     2.1 กับกิจการไฟฟ้า ประปา ทางหลวง รถไฟฟ้า ช่วยกันร่างผังเมืองนี้เป็นแผนแม่บทของหน่วยงานของตน ส่วนในพื้นที่อนุรักษ์ชนบทจะห้ามก่อสร้างถนนหรือขยายไฟฟ้า ประปาไปบริเวณดังกล่าว
                     2.2 กับการเคหะแห่งชาติและหน่วยงานอื่นโดยควรใช้วิธีจัดรูปหรือเวนคืนที่ดินชานเมือง เช่น เขตหนองจอก ราว 10,000 – 20,000 ไร่ สร้างเมืองใหม่แบบปิดล้อมแต่มีระบบขนส่งมวลชนเข้าสู่ใจกลางเมืองโดยตรง แล้วจัดสรรที่ดินที่มีสาธารณูปโภคครบ (serviced land) เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ศูนย์ธุรกิจ เป็นต้น
                     2.3 กับกรมธนารักษ์เพื่อนำที่ดินใจกลางเมืองมาพัฒนาเป็นศูนย์ธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจมีการรวมศูนย์ สาธารณูปโภคไม่ต้องขยายตัวอย่างไร้ขอบเขต เป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจด้วยกันเองในพื้นที่
                     2.4 กับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อจัดสร้างนิคมให้โรงงานได้ใช้ในราคาถูกเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม และเพื่อห้ามการก่อสร้างโรงงานตามท้องนาหรือย่านชานเมืองเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

                     จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและขอขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้

ขอแสดงความนับถือ
ดร.โสภณ พรโชคชัย


บัญชีแนบท้ายรายชื่อผู้มีความรู้ด้านการผังเมือง การพัฒนาเมือง หรืออสังหาริมทรัพย์
ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร

กนก อัศววรานันต์
กานต์ อัศวปานทิพย์
กิตติพล ปะรังษี
กิตติศักดิ์ ชำนาญช่าง
เกียรติกรณ์ สิทธิสมบูรณ์
จนัธ เลิศสกุลพิริยะ
จรรยงค์ พะลัง
จรินทร์ อำพลพันธ์
จักรวัฒน์
จารุณี กิตติสุภาพ
จำนง บัวไขย
จิตติพนธ์
เจริญพร ฤทธิ์เนติกุล
ชัยรัตน์ วิลัยวงษ์
ชัยรัตน์ สิทธิกุล
ชาญณรงค์ พลพืช
ชิณวัชร ศิริทรัพย์ภิญโญ
ญาสิตา นภาสว่างวงศ์
ณฐพนธ์ คงศิลา
ณัฐพงศ์ สวนะเกษม
ณิชชยา ดีดวงพันธ์
ดรุณี รุ่งเรืองผล
ดารารัตน์ พันธุ์เจริญลักษณ์
ทวีพร เอี๊ยบเจริญ
ทองสถิต ลีลาประทักษ์
ธนกฤต คนคล่อง
ธนภณ พันธเสน
ธรรมนูญ วิทยเบญจางค์
ธัชทร ควรสุวรรณ
ธันยมัย แซ่ลิ้ม
ธารางกูร ทิพย์ลือพร
นงลักษณ์ จตุเทน
นภา
นวทรัพย์ ชนะบัลลังค์
นิพนธ์ พรโชคชัย
บุญสม อัครธรรมกุล
บุณยนุช นิยมเดชา
ปยุต จำปาปน
ประเทือง ถินคำ
ประไพสิทธิ์ ตัณฑ์เกยูร
ประมวล ชาญชัยวรชัย
ประวิทย์ อนุศิริ
ปรีชา ยศวิปาน
ปิยะพงศ์ วาณิชวรานนท์
พงศ์พันธ์ หมู่พยัคฆ์
พงศภัคร อุ๊ยตา
พรภักษ์ บูรณ์ทอง
พรรณนิภา ผลเพิ่ม
พรสรวง โพธิ์ทอง
พลชัย ชัยยศมานนท์
พศิน นิติชาคร
พัชรวัฒน์ พิริยะกุลศิริ
พิชยา ประสพบุญมีชัย
พิเชษฐ ตันปัญญาวัฒน์
พิมพ์ลดา ภูวฉัตรพิสุทธิ์
พิรานันท์ ก่ำบำรุง
พิสิทธิ์ สกุลทรัพย์เจริญ
พิสุทธิ์ พุทธิกุลสถิต
เพ็ญศรี หาญเสมอ
ไพรัช มณฑาพันธุ์
ภิชาภัช
มัลลิกา มุนีพีระกุล
มานะ ผกาภรณ์
มิตรภาพ สิทธิชัยณรงค์
มูฮำหมัดอิกบาน เชตเตอร์ โมฮามัด
ยุพวัลย์ เลียวประเสริฐพร
ยุพิน วรสิริอมร
รภีร์ จักรภีร์ศิริสุข
รัชพล ศรีวุฒิชาญ
วรพรรณ ศรารัชต์
วรรณภา เจริญสุข
วรวิทย์ อร่ามรัศมีกุล
วลัยพรรณ จะแจ้ง
วสวีร์ ลีสวรรศ์
วิโรจน์ ตั้งเจตนาพร
วีรศักดิ์ กอบหิรัญกุล
ศราวุธ แก้วสุกใส
ศักดิ์ไทย สัมฤทธิ์ธารา
ศิริวรรณ แสงมณี
ศุภกฤต วิภวพาณิชย์
สมใจ คงอยู่
สมทบ เหล่านิยมไทย
สมศักดิ์ ศิริผลชีวิน
สัจพล ส่งสมบูญ
สันติ วัฒนาวิทยาผล
สันทนา จักรภีร์ศิริสุข
สารสิน สัตยสุข
สิทธิชัย ธนสถิตย์ชัย
สิทธิศักดิ์ ธารีรัชต์
สิริมา จักรภีร์ศิริสุข
สุทธิพงศ์ คำเวียง
สุภกิจ ชัยเมืองเลน
สุภมาส คงวิวัฒนากุล
สุรชัย วานิชดี
สุรพงษ์ จักรภีร์ศิริสุข
สุรพงษ์ วาจาจิตร
สุวรรณี จิระพงษ์ตระกูล
โสภณ พรโชคชัย
โสภา คงจันทร์
อนุสรณ์ โรจนสมสิทธิ์
อภิรัตน์ เตชวัชรา
อรฤดี สุวรรณธนาลาภ
อัครชัย ทิพย์ลือพร
อำนวยศักดิ์ ทวีลาภ
อุบลรัตน์ จักรภีร์ศิริสุข
เอกชัย เปลี่ยนโพธิ์
เอกรัฐ จันทร์จำปา
เอกราช ตั้งสุขเกษมสันต์