Eng ไทย
หน้าแรก เกี่ยวกับมูลนิธิ หลักการประเมินค่าทรัพย์สิน มาตรฐานจรรยาบรรณ
อัตราผล
ตอบแทน
มาตรฐานราคาค่าก่อสร้าง บทความความรู้ข้อแนะนำ เว็บบอร์ด ติดต่อมูลนิธิ
กลับไปดูเล่มอื่น ๆ
   
แนวทางการจัดการปัญหาคนเร่ร่อน

คำนำ

          ปัญหาคนเร่ร่อน หรือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเป็นปัญหาที่ แก้ไขได้ไม่ยาก สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยดีโดยเร็ว เพราะคนที่เป็นคนเร่ร่อนนั้น อยู่ตามชายขอบของสังคมจริงๆ ขาดการเหลียวแล เท่าที่ควรทั้งที่พวกเขาสามารถที่จะพัฒนากลับมาอยู่ในสังคมปกติได้อย่างสงบสุขและสันติ
          ผมสนใจเกี่ยวกับคนเร่ร่อนมาตั้งแต่ปี 2530 ในสมัยที่ยัง ทำงานรับจ้างธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียมาประจำการอยู่การเคหะแห่งชาติ ในขณะนั้นผมทำการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาสลัมหรือ ชุมชนแออัดเพราะคนที่อยู่อาศัยในชุมชนเหล่านี้ย่อมเป็นคนยากจนหาไม่คงไม่ต้องทนลำบากอยู่ในสลัมเป็นแน่แท้
          อย่างไรก็ตามหากศึกษาให้ดีๆ คนเหล่านี้ยังมีบ้าน อย่างน้อยก็เป็นกระต๊อบที่ปลูกขึ้นบนที่บุกรุก บ้างก็บุกรุกกันอยู่อย่างค่อนข้างถาวร บ้างก็เช่าที่ดินและปลูกบ้านเป็นของตนเองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และก็ยังมีชาวชุมชนแออัดบางส่วนที่เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินเป็นของตนเองอีกเช่นกัน
          แต่ในกรณีของคนเร่ร่อน คนเหล่านี้ไม่มีอสังหาริมทรัพย์ใดเป็นของตนเอง ไม่มีบ้าน ไม่มีที่ดิน แต่อาศัยนอนอยู่ข้างถนนหรือตามซอกหลืบของสังคม คนเหล่านี้ควรที่จะมีบ้านเป็นของตนเอง แต่ไม่มีเพราะยากจน แต่บางคนก็อาจยากลำบากจนไม่ต้องการบ้าน ของตนเองแล้ว แต่ต้องการสถานพยาบาล สถานสงเคราะห์ หรือ สถานที่พักฟื้นเพื่อให้เขาสามารถกลับไปอยู่อย่างสงบสุขและปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นได้
          สังคมไม่พึงสับสนระหว่างคนเร่ร่อนและขอทาน คนเหล่านี้เป็นคนละพวกกัน ขอทานนั้นเป็นอาชีพอย่างหนึ่งที่อาศัยความน่ารักน่าสงสารมาทำมาหากิน โดยวันๆ หนึ่งจะได้เงิน 500-1,500 บาท โดยทำเป็นอาชีพรายวัน หลายคนนั่งสามล้อ แท็กซี่มาขอทาน โดยแต่ง “เครื่องแบบ” ขอทานให้ดูน่าสงสาร ที่สำคัญขอทานยังมักกลายเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งโดยลักพาเด็กมาบ้าง ทำร้ายหรือมอมยาเด็กให้มาขอทานบ้าง มีชาวประเทศเพื่อนบ้านมาขอทานเป็นล่ำเป็นสันบ้าง
          แต่คนเร่ร่อนเป็นคนที่ “สิ้นไร้ไม้ตอก” จริงๆ แต่ก็พยายามช่วยตนเองด้วยการนอนอยู่ริมถนนหรือ (เช่า) ตามซอกหลืบของสังคม และทำมาหากินด้วยการเก็บขยะที่สามารถ recycle หรือ reuse มาขายเพื่อประทังชีวิต โอกาสที่จะให้พวกเขามีฐานะที่ดีขึ้นกลับสู่สังคมตามปกติได้นั้นค่อนข้างยาก คนที่ต้องตรากตรำนอนข้างถนนนานๆ ก็ทำให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตเสียหายได้
          สังคมควรช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ที่เกือบทั้งหมดเป็นพี่น้องคนไทยเอง ถ้าได้รับการสนับสนุน เขาก็กลับเป็นกำลังของชาติได้

ด้วยความเคารพ
ดร.โสภณ พรโชคชัย
6 ตุลาคม 2563

สารบัญ

คำนำ
4

     1. คนเร่ร่อนสังคมต้องช่วยเหลือ
9

     2. คนเร่ร่อนอยู่ตรงไหนในสังคม
14

     3. ว่าด้วยคนเร่ร่อนในสังคมไทย
19

     4. ขอทานต่างจากคนเร่ร่อน
24

     5. สถิติเกี่ยวกับคนเร่ร่อน
34

     6. คนเร่ร่อนมีค่าน้อยกว่าหมาแมว!
49

     7. ชะตากรรมของคนเร่ร่อน
54

     8. คนเร่ร่อนสวนลุมพินี
61

     9. คนเร่ร่อน (ถูกหาว่า) เป็นผู้ร้ายอีกแล้ว
65

     10. เจาะลึกคนเร่ร่อน
70

     11. การช่วยเหลือคนเร่ร่อนในนครนิวยอร์ก
84

     12. สหรัฐกับคนเร่ร่อนช่วงโควิด 19
89

     13. ยืมใช้หรือเช่าที่ดินระยะสั้นเพื่อคนเร่ร่อน
96

     14. มาร่วมกันเลี้ยงอาหารคนเร่ร่อน
99

     15. ปัญหาคนเร่ร่อนแก้ด้วยเงินเพียง 730 ล้านต่อปี
103

     16. อสังหาฯ ช่วยคนเร่ร่อน (ชรา)
107

     17. คนเร่ร่อนในสังคมไทย แก้อย่างไร
112

     18.CSR กับการช่วยเหลือคนเร่ร่อน
119

     ภาคผนวก 1: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนเร่ร่อน
127

     ภาคผนวก 2: เกี่ยวกับมูลนิธิอิสรชน
143

   

 

Area Trebs
อาคาร @area เลขที่ 5/15 ซอยนนทรี 5 ถนนนนทรี เขตยานนาวา กทม. 10120
Tel: 0-2295-3171 Fax: 0-2295-1154 Email: info@thaiappraisal.org   สถานที่ตั้ง: แผนที่