Eng
ไทย
เกี่ยวกับมูลนิธิ
หลักการและจรรยาบรรณ
ราคาประเมินค่าก่อสร้าง
บทความความรู้ข้อแนะนำ
เว็บบอร์ด
ติดต่อมูลนิธิ
"ทำไมจึงต้องรู้มูลค่าที่แท้จริงของบ้านและที่ดินของเราเอง"
เด็กหญิงกันยารัตน์ วนาเฉลิม โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จังหวัดขอนแก่น
(ระดับมัธยม) รางวัลชมเชย
          บ้านและที่ดินของเรานั้นมูลค่าสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้ จึงควรที่จะประเมินค่าบ้านและที่ดินตามโอกาสมูลค่าของบ้านและที่ดิน หมายถึง มูลค่าอันสมควรจะเป็นของบ้านและที่ดิน ณ สถานการณ์นั้นๆ จากที่กล่าวมาแล้วว่าสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ จึงควรเรียนรู้วิธีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ด้วย
          การที่เรารู้มูลค่าที่แท้จริงของบ้านและที่ดิน ก็เพื่อประโยชน์ของตนเองกึ่งหนึ่ง ทั้งยังมีประโยชน์ต่อประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ขออ้างประเด็นประโยชน์ของตนเองก่อน เราจำเป็นอย่างมากที่จะต้องรู้มูลค่าฯ เพื่อไม่ให้โดนหลอกจากกลุ่มมิจฉาชีพ เช่น หากเราต้องการจำนองบ้านหรือที่ดิน เพื่อเปลี่ยนเป็นเงินตราแล้ว หากเราไม่ทราบมูลค่าอันแท้จริง เงินที่เราได้รับมาอาจจะน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ไม่คุ้มกับบ้านหรือที่ดินของเราก็เป็นได้ การเปิดวงเงินสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ก็เช่นกัน หากให้เรากู้สูง ซึ่งเกินความจำเป็นของเรา ก็จะทำให้เราต้องใช้หนี้มากขึ้น หรือแม้กระทั่งการทำสัญญาขายฝาก หากผู้ซื้อกำหนดให้เราต่ำโดยอ้างว่าช่วงนี้ อัตราเงินบาทอ่อนตัว แล้วซื้อเราในราคาถูก โดยกำหนดว่าไถ่คืนภายในเวลา 1 ปีตามราคาเงินบาทช่วงนั้น แล้วเราอาจจะเสียเปรียบได้ ด้วยความไม่รู้และไม่สนใจที่จะติดตาม แต่ถึงอย่างไร ประโยชน์ส่วนตัวก็ยังไม่เท่าประเทศ หลายท่านที่อ่านเรียงความของผู้เขียน คงทราบกันว่ามีผลต่อดุลการค้าโดยตรง เพราะหากเก็งกำไรที่ดินหรือบ้านให้เราสูง จะทำให้เกิดภาวะ Bubble Economy หรือเศรษฐกิจฟองสบู่ได้ โดยเฉพาะอุตสาหะกรรมอสังหาริมทรัพย์ (เห็นได้จากช่วงปี 2534) หากพนักงานธนาคารให้กู้ไม่สมดุลกับมูลค่าที่แท้จริง ยังทำให้รายจ่ายของธนาคารสูงเกินจริง ขัดต่อทฤษฎีบทที่ว่า "รายได้ที่ได้รับจะมีต่อไปอย่างต่อเนื่องในอนาคตเท่าๆ กันทุกปี" มีผลให้อัตราที่ใช้คิดลดรายได้สุทธินั้นกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน อาจทำให้การวิเคราะห์การซื้อขายไม่มีกฎ-เกณฑ์ได้ จึงควรเรียนรู้วิธีการประเมินง่ายๆ ดังนี้ ขั้นแรกต้องดูว่าประโยชน์ในอนาคตของบ้านและที่ดินของเราเป็นอย่างไร ขั้นที่สอง ต้องดูความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่นผุพัง สีซีด รกร้าง ขั้นที่สาม คำนึงถึงการแข่งขันว่าในพื้นที่นั้นมีผู้ต้องการมากแค่ไหน ขั้นที่สี่ ต้องคำนึงถึงความสอดคล้อง หรือสิ่งแวดล้อม ขั้นที่ห้า ความเกื้อหนุนไม่เก็งราคาเกินจริง ขั้นที่หก ต้องคำนึงว่าประโยชน์ของบ้านและที่ดินเหมาะกับแหล่งนั้นหรือไม่ ขั้นที่เจ็ด ควรดูราคาตลาดว่าช่วงไหนสูงช่วงไหนต่ำ ขั้นที่แปด คำนึงถึงความสะดวกของบ้านและที่ดิน เช่นมีถนนตัดผ่านหรือไม่ ขั้นที่เก้า แหล่งของบ้านและที่ดินว่า อยู่บริเวณชุมชนแออัด หรืออยู่ในโครงการ และขั้นตอนสุดท้าย จำนวนและความแตกต่างของบ้าน เช่นละแวกนั้นมีบ้านโรมัน 9 หลังมีบ้านทรงไทยไม้สักทองเพียงหลังเพียง โดยเนื้อที่และขนาดเท่ากัน บ้านทรงไทยต้องแพงกว่าเป็นจุดตายตัว เป็นต้น
          สรุปได้ว่าหากเรารู้มูลค่าที่แท้จริงของบ้านและที่ดินของเราแล้ว จะทำให้เราไม่เสียเปรียบบุคคลอื่น อาจก่อให้เกิดความสนใจในด้านเศรษฐกิจ และช่วยไม่ขาดดุลการค้า สังเกตได้จากปี พ.ศ. 2533 การเก็งราคาอสังหาริมทรัพย์สูงเกินไปทำให้ สหภาพสินเชื่อ ยักษ์ใหญ่ ของประเทศญี่ปุ่น คอสโม ซินโย คูมิอจิ เกิดปัญหาขาดดุลในบริษัท ทำให้ต้องปิดตัวลง หากท่านผู้อ่านได้ติดตามข่าวอยู่เสมอจะเห็นผลกระทบทางเศรษฐกิจอยู่เสมอ หากเราไม่ต้องการให้สถาบันการเงินของไทยเป็นเช่นนั้น ก็ควรที่จะรู้ "มูลค่าที่แท้จริงของบ้านและที่ดินของเราเองไว้" เพื่อประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย

Area Trebs FIABCI
 
10 ถ.นนทรี เขต.ยานนาวา, กรุงเทพมหานคร 10120 Tel:66 2295 3171 Fax: 66 2295 1154 Email: info@thaiappraisal.org สถานที่ตั้ง: แผนที่