ธุรกิจโรงแรมท่ามกลางสงครามโรคระบาด
บอม

[ผู้ตั้งกระทู้]
2020-12-29|10:34:59
รายละเอียด:


ธุรกิจโรงแรมท่ามกลางสงครามโรคระบาด

ในยุคโควิด 19 ที่แทบทุกคน ทุกธุรกิจ ต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันแบบใหม่ หรือ New Normal โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวธุรกิจโรงแรม ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตครั้งนี้ วันนี้ TREBS ได้หยิบยกเรื่องราวที่เกี่ยวกับธุรกิจโรงแรมจากมุมมองของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมอย่าง ดร.ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม กรรมการบริหาร บมจ.ดุสิตธานี ว่าจะมีทิศทางในการบริหารธุรกิจโรงแรมให้อยู่ร่วมกับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างไร

ธุรกิจโรงแรมจะอยู่อย่างไรท่ามกลางสงครามโรคระบาดที่ยังไม่มีท่าทีจะจบลงง่ายๆ 

“ช่วงแรกเราคิดว่าเกิดผลกระทบแรงแน่ แต่สั้น แต่ไม่ได้มองว่ามันจะลากยาวมาถึงขนาดนี้”

ธุรกิจท่องเที่ยว คือกลุ่มที่ต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงและได้รับความเสียหายมากที่สุดในช่วงที่ไวรัส COVID-19 ระบาดในช่วงที่ผ่านมา หนึ่งในธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยก็คือธุรกิจโรงแรมและที่พัก แม้ในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการของธุรกิจกลุ่มนี้จะมีการปรับตัวมาตลอด แต่คราวนี้ดูเหมือนว่าครั้งนี้อาจจะยังไม่พอ.

 

ดร. ศุภจี สุธรรมพันธุ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองการรับมือและจัดการกับวิกฤตโควิด-19 ของกลุ่มเครือดุสิตว่า กลุ่มดุสิตเป็นกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ (hospitality) ที่ผ่านมาเจอสถานการณ์ดิสรัปชัน (disruption) มาเยอะแยะมากมายก่อนที่จะเจอวิกฤตโควิดด้วยซ้ำไป

 

วิกฤตโควิดทำทุกอย่างหยุดชะงักลงไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่เป็นจากต่างประเทศด้วยเช่นกัน พอร์ตโฟลิโอของเรามีอยู่ประมาณ 330 กว่าแห่งใน 15 ประเทศทั่วโลก ทุกพอร์ตหยุดหมด ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะว่าการเดินทางหยุดลง เพราะฉะนั้นรายได้ที่มาจากธุรกิจท่องเที่ยวก็หายไปโดยสิ้นเชิงในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันไปเรามีพอร์ตโฟลิโออยู่ที่จีน 9 โรงแรม ก็ปิดหมดตั้งแต่ช่วงต้นปี ยกเว้นในตะวันออกกลางที่ไม่ปิดเลย แต่ก็ได้รับผลกระทบหนักหน่วงเช่นกัน เรียกว่าเป็นวิกฤติที่ใหญ่เลยก็ว่าได้

 

แม้ก่อนหน้านี้ธุรกิจท่องเที่ยวอาจจะเคยเจอวิกฤติในลักษณะนี้มาแล้วจากช่วงโรคระบาดอย่าง SARS หรือ MERS มาก่อน แต่ครั้งนี้ร้ายแรงกว่า เพราะปัจจุบันคนเดินทางเยอะขึ้นมาก และเมื่อเกิดเรื่องขึ้น ก็เลยได้รับความเสียหายไปเต็มๆ

 

“ธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยถือเป็นธุรกิจต้นทางของธุรกิจอื่นๆ ที่ตามมา ถ้ามองในแง่ผลกระทบกับจีดีพี กว่าครึ่งมาจากธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ดังนั้นเมื่อเกิดผลกระทบ ก็เลยทำให้ไทยมีความตึงตัวมากกว่าประเทศอื่นๆ ในละแวกเดียวกัน”
 

อย่างไรก็ดี เมื่อเจอวิกฤตครั้งนี้เมื่อประมาณต้นปี โจทย์แรกที่กลุ่มดุสิตกังวลและโฟกัสก็คือเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัย Safety และ Hygiene ของลูกค้าและพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ ช่วงแรกเราคิดว่าเกิดผลกระทบแรงแน่ แต่สั้น คิดว่าสัก 3-4 เดือนน่าจะเอาอยู่ และน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ประมาณเดือนกรกฎาคม การจัดการกับธุรกิจก็คือดูแลเรื่องพนักงานก่อน แล้วก็ปรับในเรื่องไฟแนลเชียล แต่ไม่ได้มองว่ามันจะลากยาวมาถึงขนาดนี้

 

เพราะฉะนั้นในการปรับครั้งนี้ จึงต้องดู 3 ส่วนไปพร้อมๆ กัน

  1. Business Model ว่าควรจะเป็นอย่างไร

  2. คือเรื่อง Financial Model เพราะว่ารายได้หายไปเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ต้นทุนคงที่มีอยู่ค่อนข้างสูง ต้นทุนคงที่ของธุรกิจบริการก็คือคน แต่เราก็ต้องเก็บคนเอาไว้ เพราะฉะนั้นเราจึงมาดูว่าfinancial model เราเป็นยังไง ต้องบริหารจัดการปรับแต่งมัน บางตัวที่เราคิดว่าไม่ได้ให้รีเทิร์นที่ดีก็ต้องตัดทิ้ง บางตัวที่สามารถจะทำต่อได้ เราก็ต้องปรับใส่อะไรเข้าไปเพื่อจะปั้นให้ขึ้นมาได้ ดังนั้น Financial Structure จึงต้องทำค่อนข้างเยอะ

  3. คือ Organizational Structure เพราะทุกธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบริการมันเดินด้วย “คน” เพราะฉะนั้นเราจึงทำเรื่องBusiness Transformationและ Technology Transformationเอาเทคโนโลยีมาเปิด เพื่อให้พนักงานของเราสามารถตอบโจทย์ในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกใหม่ได้อย่างไร

 

ในส่วนBusiness Model ดร.ศุภจียังให้มุมมองว่า ปัจจุบันมีการพูดกันถึงเรื่องดิสรัปชันค่อนข้างมาก และมีการถามกันมากว่าปัจจุบันconsumerหรือผู้บริโภคต้องการอะไร? ซึ่งปัจจุบันสิ่งที่consumer ต้องการในทุกอุตสาหกรรมคือ “ต้องการอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ต้องได้” I want what I want when I want it ในอดีตอาจจะมีความต้องการอย่างนี้เหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยทำให้เราสามารถจะส่งมอบให้กับผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น

 

ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ในธุรกิจไหน ถ้าเราตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคนี้ได้ เราก็สามารถที่จะเดินหน้าต่อได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทำเรื่อง “ความยั่งยืน” หรือ sustainabilityซึ่งนอกจากจะทำอย่างไรไม่ให้โลกเรามีปัญหาแล้ว แต่sustainability ในโลกของhospitality มันยังมีมุมเรื่อง self-sustained ด้วย

 

รวมถึงเรื่อง Environment Sustainable ที่ได้มีการคุยกันเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆเพราะเหล่านี้ได้กลายเป็นบริบทหนึ่งในการท่องเที่ยวไป และต้องนำมาอยู่ในมุมของการทำธุรกิจ hospitality ด้วย รวมไปถึงเรื่องของ zero waste ก็ต้องมีการดูแลจัดการ มีการคุยกันในเรื่องcircular economyดูว่าเราจะสามารถนำของต่างๆ มารีไซเคิลได้อย่างไร

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับเรื่องราวในมุมมองการรับมือและจัดการกับวิกฤตโควิด-19 ของผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ ด้านธุรกิจโรงแรม และสำหรับท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดนี้ ทางศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ได้จัดงานสัมมนา เพื่อการวางกลยุทธ์สำหรับโรงแรมท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ซึ่งโรงแรมบางแห่งอาจจำเป็นต้องการ เราควรขาย ณ ราคาเท่าไหร่กันแน่จึงจะสมเหตุสมผล และในฝั่งผู้ซื้อ ควรซื้อในราคาเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม  การประเมินค่าโรงแรมในยุคไร้นักท่องเที่ยวจะเป็นอย่างไร  ถ้ามีหนี้จะปรับโครงสร้างหนี้อย่างไร รัฐบาลควรจัดตั้งกองทุน “ตึ๊ง” หรือขายฝากโรงแรมอย่างไร หรือภาวะขณะนี้ เราควรปิดโรงแรมไว้สัก 2 ปีดีกว่าหรือเปิดโรงแรมไว้โดยมีอัตราการครอบครองที่ 30% ดีกว่ากัน สำหรับท่านที่สนใจสามารถเข้าร่วมงาน “สัมมนา: กลยุทธ์ซื้อ-ขายโรงแรมในยุคโควิด-19” ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 09:00 - 17:00 น. ณ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย 

 

>>>>> สัมมนา: กลยุทธ์ซื้อ-ขายโรงแรมในยุคโควิด-19 <<<<<

 
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียด:
* ชื่อคุณ:
อีเมล์:
*รหัสยืนยัน:   7351 กรุณาป้อนรหัส =>
  อ่ า น แ ล ะ ย อ ม รั บ ใ น ก ติ ก า ก่ อ น
1) งดลงประกาศข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องกับ วงการประเมินค่าทรัพย์สิน
2) การลงข้อความ ประกาศ ต้องเป็น ข้อความที่ถูกกฎหมาย และศีลธรรม เท่านั้น และ เป็นความจริงทุกประการ
3) ข้อความที่ลงประกาศ ท่านจะต้องรับผิดชอบ และทำตามที่ท่านลงประกาศไว้
4) งดการใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ ดูถูก เสียดสี ประชดประชัน หรือ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
5) ห้ามลงประกาศข้อความ ที่ซ้ำๆ กัน
6) หากทาง Thaiappraisal ตรวจสอบพบ หรือ มีผู้แจ้ง ข้อความที่ละเมิดกฎ และทางเราได้ตรวจสอบแล้วเป็นจริง จะทำการลบข้อมูลที่ไม่เหมาะสมนั้น โดยไม่ต้องแจ้งให้ท่านทราบ
7) ทาง Thaiappraisal ขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข กฎกติกาในการลงประกาศ

 

 

 

 

Area Trebs FIABCI
 
10 ถ.นนทรี เขต.ยานนาวา, กรุงเทพมหานคร 10120 Tel.66.2295.3171 Fax. 66.2295 1154 Email: info@thaiappraisal.org; สถานที่ตั้ง: แผนที่