เศรษฐกิจไทยถึงเวลาจมดิ่งแล้วอสังหาริมทรัพย์ล่ะ
๋jidapa

[ผู้ตั้งกระทู้]
2020-06-16|16:45:20
รายละเอียด:


      ระเบียบโลกใหม่เริ่มต้นที่ข้อตกลงพลาซาเมื่อ 35 ปีก่อน ส่งผลให้ญี่ปุ่นสยายปีกไปทั่วโลก และที่สำคัญทำให้ไทยกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ แล้วตอนนี้ญี่ปุ่นกำลังจะถอนตัวจากไทย ไทยจะเป็นอย่างไร
           ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ชี้ให้เห็นถึงกรณี “เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว” ในแง่การลงทุนอสังหาริมทรัพย์โลกและไทยผ่านกรณีข้อตกลงพลาซา ที่ทำให้เกิดการลงทุนข้ามชาติขนานใหญ่ ซึ่งไทยก็พลอยได้รับอานิสงส์ไปด้วย แต่มาทีนี้ไทยกำลังจะตกที่นั่งลำบาก ทุนต่างชาติโดยเฉพาะญี่ปุ่นถอนตัวจากไทย ไทยจะผลิตสินค้าแบรนด์ของตนเองแบบเกาหลี ไต้หวัน จีนได้หรือไม่ หรือรอให้เวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์แซงเราไป เช่นที่เกาหลี ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ แซงมาแล้ว
                      ข้อตกลงพลาซา (อังกฤษ: Plaza Accord) มี “ชื่ออย่างเป็นทางการคือ ปฏิญญาระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของฝรั่งเศส, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ (Announcement of the Ministers of Finance and Central Bank Governors of France, Germany, Japan, the United Kingdom, and the United States) เป็นข้อตกลงระหว่าง 5 ประเทศอุตสาหกรรมหลัก เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นและเยอรมนีเพิ่มค่าเงินของตัวเองเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลทั้งห้าประเทศได้ลงนามข้อตกลงนี้ในวันที่ 22 กันยายน 2528 ที่โรงแรมพลาซา ในนครนิวยอร์ก”
           ผลของข้อตกลงนี้ก็คือ “ญี่ปุ่นและเยอรมนีสามารถซื้อหาสินค้าต่างประเทศได้ในราคาถูกลงเกือบเท่าตัว แต่ในทางตรงข้าม สินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่นในสายตาของชาวโลกกลับมีราคาแพงขึ้นเท่าตัวด้วยเช่นกัน. . .เมื่อภาคการผลิตในญี่ปุ่นทำผลกำไรลดต่ำลง จึงเกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าและขนส่งได้สะดวก ซึ่งก็คือกลุ่มอาเซียน” โดยเฉพาะไทย ทั้งนี้ไทยถือเป็นเป้าหมายใหญ่ บริษัทใหญ่ๆ ของญี่ปุ่นย้ายมาไทยมากกว่าประเทศอื่น ในขณะเดียวกันประเทศในอินโดจีนยังขาดความมั่นคงทางการเมือง ฟิลิปปินส์ก็เพิ่งมีการโค่นล้มประธานาธิบดีมากอสในปี 2529 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ประเทศไทยเติบโตขึ้นมาได้เพราะญี่ปุ่น
           ในสมัยนั้น ญี่ปุ่นไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ทั้งที่ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลียและไทยกันอย่างเมามัน ส่งผลให้เกิดช่วง “บูม” ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย พ.ศ.2529-2533 เงินเยนแข็งค่าขึ้น อันมีผลส่วนหนึ่งให้การส่งสินค้าจากญี่ปุ่นเข้าสหรัฐอเมริกากระทำได้ยากขึ้น แต่เดิมเมื่อ พ.ศ.2528 เงิน 1 เหรียญสหรัฐแลกได้ 240 เยน แต่ 2 ปีนับจากการลงนามในสัญญานี้เงิน 1 เหรียญสหรัฐแลกได้เพียง 120 เยนเท่านั้น
           การนี้ทำให้ญี่ปุ่นย้ายการลงทุนภาคอุตสาหกรรมมาในประเทศไทยรวมทั้งประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนเพื่อผลิตสินค้าส่งไปขายยังสหรัฐอเมริกาและยุโรปแทนการผลิตในญี่ปุ่น เงินเยนแข็งค่าจนสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้มากมาย นับแต่นั้นมาผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชนในภาคอุตสาหกรรมของไทยก็แซงหน้าภาคเกษตรกรรมอย่างเด่นชัด และการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของไทยนับเป็นผลพวงจากการลงทุนโดยตรงของต่างประเทศ (Foreign Direct Investment หรือ FDI) โดยเฉพาะญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นถือเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุด
           อาจกล่าวได้ว่า FDI ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างขนานใหญ่ ที่ดินชานเมืองหรือในต่างจังหวัดที่แต่เดิมมีศักยภาพทำแต่การเกษตร กลับสามารถแปลงเป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมได้ เมื่อศักยภาพเปลี่ยนไป ราคาก็เพิ่มขึ้นมหาศาล เมื่อมีกิจกรรมด้านอุตสาหกรรม การพัฒนาที่อยู่อาศัยและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ก็เกิดตามมา ซึ่งยิ่งทำให้ราคาที่ดินถีบตัวสูงขึ้นไปอีก เนื่องด้วยที่ดินสามารถแบ่งซอยมาใช้อย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในที่ดินเพื่อการพาณิชย์ย่อมสูงกว่าที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม ยิ่งทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด

ที่มา: https://www.imf.org/external/datamapper/NGDP_RPCH@WEO/THA/IDN/MYS/PHL/VNM

อ้างอิง
<1> Wikipedia. ข้อตกลงพลาซา https://bit.ly/3goFMMM
<2> สื่อดังญี่ปุ่นเผย ค่ายรถยนต์จ่อย้ายฐานผลิตหนีไทย หลังเจอกระทบหนักจากบาทแข็ง. 24 ธันวาคม 2562. https://www.sanook.com/news/7990998

 
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียด:
* ชื่อคุณ:
อีเมล์:
*รหัสยืนยัน:   3085 กรุณาป้อนรหัส =>
  อ่ า น แ ล ะ ย อ ม รั บ ใ น ก ติ ก า ก่ อ น
1) งดลงประกาศข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องกับ วงการประเมินค่าทรัพย์สิน
2) การลงข้อความ ประกาศ ต้องเป็น ข้อความที่ถูกกฎหมาย และศีลธรรม เท่านั้น และ เป็นความจริงทุกประการ
3) ข้อความที่ลงประกาศ ท่านจะต้องรับผิดชอบ และทำตามที่ท่านลงประกาศไว้
4) งดการใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ ดูถูก เสียดสี ประชดประชัน หรือ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
5) ห้ามลงประกาศข้อความ ที่ซ้ำๆ กัน
6) หากทาง Thaiappraisal ตรวจสอบพบ หรือ มีผู้แจ้ง ข้อความที่ละเมิดกฎ และทางเราได้ตรวจสอบแล้วเป็นจริง จะทำการลบข้อมูลที่ไม่เหมาะสมนั้น โดยไม่ต้องแจ้งให้ท่านทราบ
7) ทาง Thaiappraisal ขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข กฎกติกาในการลงประกาศ

 

 

 

 

Area Trebs FIABCI
 
10 ถ.นนทรี เขต.ยานนาวา, กรุงเทพมหานคร 10120 Tel.66.2295.3171 Fax. 66.2295 1154 Email: info@thaiappraisal.org; สถานที่ตั้ง: แผนที่