Eng
หน้าแรก เกี่ยวกับมูลนิธิ หลักการประเมินค่าทรัพย์สิน มาตรฐานจรรยาบรรณ
อัตราผลตอบแทน
มาตรฐานราคาค่าก่อสร้าง บทความความรู้ข้อแนะนำ เว็บบอร์ด ติดต่อมูลนิธิ
อ่าน 2,008 คน
สิงสาราสัตว์กับประชาชนกรณีเขื่อนแม่วงก์
15 ตุลาคม 2556

ดร.โสภณ พรโชคชัย
sopon@thaiappraisal.org www.facebook.com/dr.sopon4

          กรณีเสือที่นำมาอ้างว่าป่าอุดมสมบูรณ์นั้น ไม่มีอยู่อาศัยในพื้นที่ก่อสร้างเขื่อน แม้อาจเฉียดผ่านมาบ้างซึ่งหากมีจริงก็คงทำให้ชาวบ้านแตกตื่นและหาทางป้องกันภัย สภาพป่าไม้ในพื้นที่ก่อสร้างก็ไม่ใช่ป่าดงดิบเป็นหลัก เมื่อก่อสร้างเขื่อนแล้วเสร็จ น้ำที่เคยแห้งในหน้าแล้ง ย่อมจะมีน้ำอุดมสมบูร์ แก่งนกยูง หาดทรายอีกมากเพื่อให้สรรพสัตว์มาใช้ ส่วนกรณีที่อาจมีการลอบตัดไม้ทำลายป่า บทบาทเชิงสร้างสรรค์ของ NGOs ก็สามารถดำเนินการได้ด้วยการจัดหน่วยสังเกตการณ์ อย่าให้ใครทำผิดกฎหมายได้
          1. กรณีเสือ ในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมษายน 2555 {1} ระบุว่าพบเสือในพื้นที่ก่อสร้างเขื่อน โดยในรายงานบอกเพียงว่าได้ข้อมูลจากการทบทวนเอกสารเก่าและการเดินสำรวจ แต่ไม่ปรากฏว่ามีชาวบ้านในพื้นที่ที่ออกหาของป่าพบเสือแต่อย่างใด หากเปรียบเทียบกับข่าวชาวบ้านแตกตื่นพบร่องรอยพบเสือโคร่งจริงนั้น {2} จะพบว่าเจ้าหน้าที่ถืออาวุธพร้อมจำนวนมากเพื่อออกไล่ล่า คงไม่ปล่อยไว้เฉย ๆ ดังนั้นการพบร่องรอยตามรายงาน จึงนำมายืนยันไม่ได้ และบริเวณที่พบก็ห่างไกลจากจุดสร้างเขื่อน การนำเสือมาอ้างเพื่อคัดค้านการสร้างเขื่อนจึงไม่เป็นเหตุเป็นผล
          2. เมื่อพิจารณาจากสภาพป่าไม้ในพื้นที่ก่อสร้างเขื่อน {3} ก็พบว่าเป็นป่าไผ่ ฯลฯ ไม่ใช่เป็นป่าดงดิบเช่นภาพต่าง ๆ ที่กลุ่มผู้คัดค้านมักจะนำมาแสดง ทั้งนี้เป็นคำชี้แจงของอดีต รมต.วีระกร ในรายการตอบโจทย์ (ซึ่ง อ.ศศิน ก็ไม่ได้ค้าน) ที่ว่าเป็นพื้นที่เดิมที่มีผู้อยู่อาศัย 200 กว่าครัวเรือนเมื่อ 20 กว่าปีก่อน แต่ภายหลังทางราชการให้ย้ายออกไป {4} ดังนั้นกรณีการทำลายป่าไม้จึงสมควรทบทวนให้ดีเพราะท่วมพื้นที่ตามลำห้วยปัจจุบันเท่านั้น ไม่ได้กินพื้นที่กว้าง ยิ่งกว่านั้นพื้นที่โดยรวมของเขื่อนแม่วงก์ ก็มีขนาดเพียง 1 ใน 1,000 ของผืนป่าตะวันตก ซึ่งเสือคงไม่มาอยู่อาศัยยกเว้นผ่านมาแถวนี้บ้างเท่านั้น
          3. หากดูจากแผนที่ข้างต้น การก่อสร้างเขื่อนนี้จะทำให้ลำน้ำที่เคยแห้งแผกในช่วงหน้าแล้ง มีน้ำอยู่เป็นประจำ กลายเป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่าทั้งหลายกระจายออกไปในวงกว้าง หาดทราย แก่งนงยูงใหม่ ๆ ก็จะเกิดขึ้นได้อีกมาก และจะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเช่นเดียวกับพื้นที่เขื่อนอื่น ๆ ด้วย
          4. บางท่านเกรงว่าหากมีการสร้างเขื่อนจะเกิดการล่าสัตว์ป่า หรือแอบตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น กรณีนี้ ทางราชการคงต้องป้องกัน และกลุ่มผู้คัดค้านเขื่อนก็สามารถมีบทบาทในเชิงสร้างสรรค์ด้วยการตั้งหน่วยสังเกตการณ์เพื่อรักษาป่าไม้ บวชต้นไม้ในที่นอกเหนือจากพื้นที่ก่อสร้าง ฯลฯ แต่จะเพียงอ้างลอย ๆ เพื่อคัดค้านการสร้างเขื่อน คงไม่ใช่เป็นแนวทางที่สมควร
          ด้วยเหตุนี้ เหตุผลในด้านป่าไม้ สิงสาราสัตว์ จึงไม่เป็นเหตุเป็นผลต่อการคัดค้านเขื่อน และในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก็พบข้อดีของการสร้างเขื่อนมากกว่าข้อเสียอย่างเปรียบเทียบกันได้ยาก การคัดค้านเขื่อนบางครั้งจึงอาจเป็นอคติต่อการพัฒนาเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรที่ประสบปัญหาอยู่อย่างต่อเนื่องทุกปี

อ้างอิง
{1} โครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์)
จัดทำโดย บริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด เมษายน 2555 หน้า 3-285
{2} พบเสือโคร่งพื้นที่แม่วงก์-คลองลาน 12 ตัว (www.thairath.co.th/content/region/374821) แต่ใน Clip ข่าว  (www.youtube.com/watch?v=nIsMytg7ON8) จนท.พร้อมอาวุธ 50 นายออกล่า และ "ย้ำอีกครั้ง อย่าอ้างเสือมาลวงค้านเขื่อนแม่วงก์" ( www.area.co.th/thai/area_announce/area_anpg.php?strquey=area_announcement581.htm)
{3} รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม รายงานหลัก กรกฎาคม 2555 หน้า 3-163
{4} รายการตอบโจทย์ อ.ศศิน-อดีต รมต.วีระกร http://program.thaipbs.or.th/newsprogram/article41826.ece?episodeID=347482

Area Trebs
 
10 ถ.นนทรี เขต.ยานนาวา, กรุงเทพมหานคร 10120 Tel.66.2295.3171 Fax. 66.2295 1154 Email: info@thaiappraisal.org; สถานที่ตั้ง: แผนที่