10 ถ.นนทรี ยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 3 มีนาคม 2559 เรื่อง โปรดสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง กราบเรียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เนื่องด้วยศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย AREA ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย โดยปรากฏว่าประชาชนแทบทั้งหมดเห็นด้วยกับการสร้างกระเช้าข้างต้นซึ่งถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ผลการสำรวจนี้เป็นการยืนยันผลการสำรวจของทางราชการ และพร้อมกันนี้ ศูนย์ฯ ได้รวบรวมความคิดเห็นของประชาชนมานำเสนอเพื่อประโยชน์ต่อการสร้างกระเช้านี้ด้วย การสำรวจนี้ดำเนินการในวันอังคารที่ 1 มีนาคม 2559 ในเขตอำเภอภูกระดึง ประกอบด้วยบริเวณเขตตำบลภูกระดึง (แถวตลาด ตลาดหน้า ธกส. บ้านห้วยเดื่อ บ้านนาโก นายาง) ตำบลผานกเค้า (หมู่ 2, 3, 7, 8, 9) ตำบลศรีฐาน (บ้านทานตะวัน บ้านแสนสุข บ้านนาน้อย บ้านสงป่าเปลือย ม.1, ม.8 ม.12) ตำบลห้วยส้ม (ม.3, 5, 6 และ 7) พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ โดยสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ ลูกหาบ แม่ค้า และข้าราชการใน อบต.ภูกระดึง อบต.ผานกเค้า สำนักงานที่ดิน และที่ว่าการอำเภอภูกระดึง รวมทั้งสิ้นประมาณ 500 คน ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนถึงประมาณ 97% ต้องการให้มีการสร้างกระเช้าไฟฟ้า ตัวเลขนี้ใกล้เคียงกับตัวเลข 99% ที่ทางราชการสำรวจ อย่างไรก็ตามในจำนวนผู้ที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยนั้น ส่วนหนึ่งเป็นข้าราชการบางส่วนที่เข้าใจว่าโครงการนี้จะเป็นการทำลายป่า โดยเฉพาะข้าราชการในส่วนงานที่เกี่ยวข้องที่ไม่ขอออกความเห็นและบางส่วนก็ไม่เห็นด้วย โดยรวมแล้ว ข้าราชการมีสัดส่วนที่เห็นด้วยถึง 80% อย่างไรก็ตามจำนวนข้าราชการมีเพียงส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ดังนั้นสัดส่วนโดยรวมของผู้เห็นด้วยกับกระเช้าไฟฟ้าจึงยังสูงมากเกือบ 100% เช่นเดิม การที่ประชาชนในพื้นที่แทบทั้งหมดต้องการให้มีการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้านี้ แสดงถึงมติมหาชนที่พึงเคารพ และเป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาของประชาชนที่ผ่านการเรียนรู้มาด้วยตนเองว่ากระเช้าไฟฟ้านี้มีประโยชน์จริง ไม่เฉพาะแก่ประชาชนในพื้นที่ แต่มีประโยชน์ต่อประชาชนทั้งประเทศที่มาใช้บริการ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สร้างรายได้ให้กับทางราชการในการนำเงินมาอนุรักษ์ธรรมชาติและป่าไม้จนก่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ความต้องการของประชาชนภูกระดึงนี้จึงไม่ใช่การครอบครองทรัพยากรของชาติไปใช้เพื่อประโยชน์ของกลุ่มตนถ่ายเดียว ส่วนประเด็นปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการมีกระเช้านั้น ไม่เป็นความจริง โดยมีรายละเอียดดังนี้: ความวิตกกังวลข้างต้นสามารถจัดการได้ อย่าให้ผู้ใดมาอาศัยข้ออ้างเหล่านี้ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ จากการสำรวจยังพบคณะต่อต้านกระเช้าซึ่งเป็นคนนอกพื้นที่ บ้างก็มาจากภาคอื่น มาปลุกระดมให้ประชาชนสับสน แต่ประชาชนแทบทั้งหมดก็ยังเห็นด้วยกับการสร้างกระเช้าไฟฟ้า ทั้งนี้มีข้อพึงพิจารณาดังนี้: ประสบการณ์จากต่างประเทศ แสดงชัดว่าโครงการกระเช้า สร้างสรรค์ประโยชน์อย่างแท้จริง ดังนี้:
3. กระเช้าดานัง ที่บริเวณภูเขา Bana Hills ซึ่งก็เป็นเทือกเขาที่ไม่ได้สวยงามเยี่ยงภูกระดึง แต่ก็มีกระเช้าให้คนได้ขึ้นเขามองลงมาดูนครดานัง ฮอยอันและบริเวณใกล้เคียงอื่นๆ ใช้เวลาถึงยอด 15 นาที และเพิ่งสร้างเสร็จเมื่อปี 2556 นี้เอง (แต่ภูกระดึงยังย่ำอยู่กับที่มา 20 ปีแล้ว) เงินลงทุนอสังหาริมทรัพย์ชิ้นนี้ก็พอๆ กับไทยคือ 650 ล้านบาท (bit.ly/1TQ4JAu) สามารถให้บริการผู้โดยสารได้ชั่วโมงละ 1,500 คน
4. กระเช้าขึ้นเกนติ้ง (Genting Skyway) ระยะทาง 3.38 กิโลเมตร ที่สร้างเสร็จในปี 2540 ในมาเลเซีย คิดค่าโดยสาร 100 บาท โดยสรุปแล้ว ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์สมบูรณ์ เหมาะที่จะก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ที่มีอายุยืนยาวเช่นกระเช้าไฟฟ้านี้ เพื่อศึกษาเรียนรู้ชื่นชมธรรมชาติโดยไม่แตะต้อง (คงไม่มีใครสร้างกระเช้าขึ้นภูหัวโล้น) การพัฒนาที่ดีจะสร้างรายได้เพื่อนำมาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืนและมีคุณภาพยิ่งขึ้น แม้แต่ลูกหาบก็ได้ประโยชน์จากการที่กิจการท่องเที่ยวดีขึ้น ยิ่งกว่านั้นในอนาคตยังสามารถพัฒนาจัดระเบียบการค้าและบริการเพิ่มมูลค่าเช่นเดียวกับในต่างประเทศ ทำให้ทางราชการมีทรัพยากรเพียงพอต่อการส่งเสริมการปลูกป่า และปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า อนึ่งหากให้หน่วยราชการเพียงบางหน่วยพิจารณาความเหมาะสมของการก่อสร้างกระเช้า อาจมีอคติและความเบี่ยงเบนจากแนวคิดอนุรักษ์แบบเดิม ๆ ที่ไม่สร้างสรรค์และไม่ยึดโยงประโยชน์ของประชาชน รัฐบาลจึงสมควรรับฟังและเคารพมติของประชาชนแทบทั้งหมดในพื้นที่เป็นสำคัญ รวมทั้งพิจารณาความเป็นไปได้ในมิติอื่นๆ ประกอบด้วย และที่สำคัญดำเนินโครงการนี้โดยทันทีเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวม จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ด้วยความเคารพ
|